แคลเซียมแค่ไหนที่คุณแม่ท้องต้องการ

view 11,910

Icon_nutrition.jpg

564888_10150962727390522_1635057400_n.jpg

 

 

     แคลเซียมเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อการตั้งครรภ์เป็นอย่างมาก เพราะแคลเซียมที่คุณแม่ตั้งครรภ์ได้รับนั้น จะไปช่วยพัฒนาโครงสร้างร่างกาย โดยเฉพาะการสร้างกระดูก และฟันของทารกในครรภ์ คุณแม่ที่ตั้งท้องอยู่จำเป็นต้องได้รับแคลเซียมเพิ่มขึ้น เพราะหากขาดแคลเซียมแล้วจะเกิดอาการกล้ามเนื้อปวดเกร็งในบริเวณต่างๆ ของร่างกาย หรือที่เรียกว่าตะคริวกินนั่นเอง โดยจะเป็นบริเวณน่อง และจะเกิดขึ้นทั้งๆ ที่ไม่ได้ออกกำลังกายหรือเดินมาก พบว่าคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นตะคริวมากถึงร้อยละ 26.8 และส่วนใหญ่เริ่มมีอาการตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ  25 สัปดาห์ และอาการจะดีขึ้นหากได้รับการเสริมแคลเซียม

    หากคุณแม่ท้องไม่ได้กินแคลเซียมบำรุงเลย ร่างกายก็จะยังมีแคลเซียมเพียงพอต่อการสร้างกระดูกของลูกในท้อง เพราะ 90% ของร่างกายคนเราจะมีแคลเซียมสะสมในกระดูกอยู่แล้ว ลูกในท้องสามารถดึงแคลเซียมจากแม่ไปใช้ได้ทันที โดยจะดึงไปใช้ประมาณ  2.5% ของแคลเซียมในตัวแม่  กรณีนี้ถ้าคุณแม่ได้รับแคลเซียมน้อย จะส่งผลเสียต่อตัวคุณแม่ในระยะยาว คือทำให้กระดูกเปราะบาง ผุง่ายกว่าปกติ ฟันผุง่ายขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลในช่วงวัยทอง หลายคนอาจสงสัยว่ามากินเสริมเอาทีหลังได้มั้ย คำตอบคือ ถ้าขาดในช่วงสั้นๆ ก็ยังพอเสริมได้ทัน แต่ถ้าไม่ได้บำรุงเลยในช่วงตั้งครรภ์แล้วมาเสริมกันทีหลัง อาจจะไม่ทันการเพราะช่วงตั้งครรภ์ถือเป็นช่วงยาวนาน ลูกอาจดึงแคลเซียมในกระดูกของคุณแม่ไปใช้เรียบร้อยแล้ว

 

 

     ในคนปกติ ร่างกายจะดูดซึมแคลเซียมครั้งละ 500-600 มิลลิกรัม  แต่ปริมาณแคลเซียมที่คุณแม่ท้องต้องการนั้นสูงถึงวันละ 1,000-1,200 มิลลิกรัม ซึ่งมากกว่าคนปกติ เพราะธาตุแคลเซียมในตัวคุณแม่ได้ถูกดึงไปใช้ในการเสริมสร้างกระดูกของเจ้าตัวเล็ก โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 2 นอกจากแคลเซียมจะเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก ฟัน และเนื้อเยื่อต่างๆ ยังช่วยทำให้กระบวนการต่างๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ เช่น ระบบของกล้ามเนื้อ ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบเหล่านี้ต้องอาศัยแคลเซียมทั้งนั้น    โดยปกติร่างกายไม่สามารถสร้างแคลเซียมได้เอง ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น  แหล่งอาหารที่มีแคลเซียม ได้แก่ นม และเนยแข็ง นมสด ปลาไส้ตัน ปลากรอบตัวเล็กตัวน้อยที่ทานได้ทั้งกระดูก ถั่ว และ งา เป็นต้น


http://mjn.enfababy.com/ess_detail.php?id=649