กิจกรรมภาษา เพื่อพัฒนาลูกในท้อง

view 5,226

  • จ๊ะจ๋ากับลูก
    เหมาะสำหรับ : 18 เดือนขึ้นไป ให้เรียกลูกและคุยแต่เรื่องดีๆ ให้ฟัง เช่น “แม่รักลูกมากนะจ๊ะ” หรือ “วันนี้ลูกสบายดีหรือเปล่าจ๊ะ” เวลาคุยก็ให้ใช้น้ำเสียงนุ่มนวล ย้ำคำหรือประโยคเดิมซ้ำบ่อยๆ นะคะ จะทำให้ลูกจำเสียง คำ ประโยคนั้นได้
    ดีกับเจ้าตัวเล็กอย่างไร : ช่วงนี้ระบบประสาทการรับเสียงของลูกพัฒนาแล้วค่ะ เพราะฉะนั้นก็จะได้ยินเสียงคุณแม่ได้ วิธีนี้จะช่วยให้ระบบประสาทและสมอง ที่ควบคุมการได้ยินของลูกพัฒนาการได้ดีขึ้น และเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับพัฒนาการด้านภาษาของลูกหลังคลอดด้วย
  • ฟังนิทานกันนะลูก
    เหมาะสำหรับ : 18 สัปดาห์ขึ้นไป คุณแม่ลองอ่านหนังสือเล่มที่ชอบ หรือเล่านิทานสนุกๆ ให้ลูกฟัง แต่อย่าลืมใช้น้ำเสียงที่มีจังหวะและใส่อารมณ์ร่วมเข้าไปด้วย
    ดีกับเจ้าตัวเล็กอย่างไร : ช่วยให้ระบบประสาทและสมองที่ ควบคุมการได้ยินเสียงมีพัฒนาการที่ดีขึ้น และเป็นการเตรียม ความพร้อมสำหรับการได้ยินหลังคลอดไปพร้อมๆ กับการเรียนรู้ ด้านภาษาหลังคลอดด้วยนะคะ
  • พ่อแม่ลูกคุยกัน
    เหมาะสำหรับ : 18 สัปดาห์ขึ้นไป ระหว่างวันให้คุณแม่เล่าเรื่องราวของคุณพ่อให้ฟังบ้างอย่าง “ลูกรู้ไหมจ๊ะคุณพ่อรักลูกมากนะ นี่ก็เพิ่งซื้อนิทานมาให้แม่ให้ อ่านลูกฟัง ” ส่วนคุณพ่อก็คุยกับลูกได้บ่อยๆ เหมือนกันนะคะ ทั้งทักทาย หยอกเย้าและลูบหน้าท้องคุณแม่เบาๆ และคุย พร้อมๆ กัน อาจเริ่มด้วยคุยแม่คุยกับลูกสัก 5 นาที แล้วต่อด้วย คุณพ่ออีก 5 ที แล้วอย่าลืมบอกลูกด้วยว่า “นี่แม่พูดนะจ๊ะ” “นี่พ่อพูดจ๊ะ”
    ดีกับเจ้าตัวเล็กอย่างไร : ช่วยพัฒนาเซลล์สมองของเจ้าตัวเล็ก เป็นกิจกรรมที่ช่วยสร้างสภาพแวดล้อม ที่มีผลต่อการพัฒนาสมองของเจ้าตัวเล็ก
  • สวดมนต์กับลูก
    เหมาะสำหรับ : 1-9 เดือน คุณแม่สวดมนต์ก่อนนอนทุกคืน นอกจากตัวจิตใจจะสงบแล้ว ยังช่วยให้ลูกคุ้นกับเสียงของคุณแม่ด้วยนะคะ
    ดีกับเจ้าตัวเล็กอย่างไร : การที่ลูกได้ยินเสียงเราในเวลาที่ เงียบสงบจะทำให้ลูกฟังเสียงอย่างสงบไปด้วย รู้สึกมีความสุข และเป็นผลดีกับวงจรการทำงานของสมองเจ้าตัวเล็กค่ะ

Tips :

  • เวลาคุยกับลูกควรทำจิตใจและน้ำเสียงให้สดใสเข้าไว้นะคะ 
  • เรียกชื่อลูกช้าๆ และทักลูกด้วยความรักเสมอ เช่น “ลูกจ๋า แม่รักหนูรู้ไหม”
  • ลองใช้เสียงสูงๆ คุยกับลูก ช่วยเรียกความสนใจได้ค่ะ
  • เวลาอ่านหนังสือหรือนิทานให้ใช้น้ำเสียงสูงๆ ต่ำๆ เป็นจังหวะ
  • คุยแต่เรื่องดีๆ ของคุณพ่อให้ลูกฟัง
  • ไม่ใช่แค่คุณแม่คนเดียวที่คุยกับลูก แต่คุณพ่อควรมีส่วนร่วมในการคุยกับลูกบ่อยๆ ด้วย เช่น บอกลูกว่า “เดี๋ยวพ่อเปิดเพลงให้ ฟังนะจ๊ะ”
https://mjn.enfababy.com:443/%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2/%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%20%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87