ช่วยลูกจัดการกับความกลัว

view 4,436

     ความรู้สึกกลัวเป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เพื่อเป็นสัญญาณให้ร่างกายเกิดการเตรียมพร้อมในการจัดการกับภัยอันตรายต่างๆ  สำหรับเด็กเล็กนั้น บางครั้งไม่สามารถปกป้องตนเองได้ คุณแม่ที่ไวต่อความรู้สึกของลูก และเข้ามาช่วยเหลือลูกได้อย่างทันท่วงที และเหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ที่จะจัดการกับความรู้สึกกลัวได้ เมื่อต้องเผชิญกับสิ่งเร้าที่น่าหวาดกลัว แต่หากคุณแม่ไม่ใส่ใจต่อความรู้สึกของลูก นอกจากความกลัวจะไม่ได้รับการเยียวยาแล้ว ความกลัวอาจพัฒนากลายเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพได้ ทำให้ลูกกลายเป็นเด็กขี้กลัวได้

     คุณแม่ควรยอมให้ลูกได้แสดงความกลัว ไม่ใช่ดุหรือบอกว่า ไม่ต้องกลัว แต่บอกให้ลูกรู้ว่าคุณแม่เข้าใจ และช่วยจัดการกับสาเหตุของความกลัวนั้นหากทำได้และให้กำลังใจลูกในทุกครั้งที่เขารู้สึกกลัว  นอกจากยอมให้ลูกแสดงความกลัว และยอมรับอารมณ์ความรู้สึกของลูกแล้ว การปรับเปลี่ยนความกลัวเป็นความน่าสนใจ ก็เป็นวิธีหนึ่งที่ใช้ได้ในหลายสถานการณ์ เช่น ในกรณีที่ลูกเจอหมาตัวใหญ่ และร้องไห้กลัว คุณแม่อาจกอด อุ้มเขา และพูดว่า  “หมาตัวใหญ่ดุน่ากลัวนะจ๊ะ แต่แม่อุ้มหนูแล้ว  มันทำอะไรหนูไม่ได้หรอกลูก ดูสิมันกระดิกหางให้หนูด้วยนะ”

      นอกจากการปรับเปลี่ยนสิ่งที่ลูกกลัวให้เป็นสิ่งที่น่าสนใจแล้ว บางครั้งหากคาดการณ์ได้ว่าลูกจะกลัวกับสถานการณ์บางอย่าง คุณแม่อาจเตรียมของหรือตุ๊กตาที่ลูกชอบ ให้ลูกได้ถือหรือกอดขณะที่ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่หวาดกลัว เพราะของเหล่านี้จะช่วยให้ลูกอุ่นใจและบรรเทาความหวาดกลัวหรือกังวลได้

          4257485778_f2f60e67da_z.jpg

     การที่คุณแม่ช่วยลูกจัดการกับความกลัวได้ ลูกก็จะกลายเป็นเด็กที่อยากรู้อยากเห็น กล้าที่จะเข้าหาผู้คน และสถานการณ์ใหม่ๆ ลูกจะมีแนวโน้มในการมองโลกในแง่ดี  เพราะเด็กจะรู้สึกมั่นใจในตัวคุณแม่ ซึ่งเด็กที่ได้รับการช่วยเหลือกับอารมณ์กลัวอย่างเหมะสมและสม่ำเสมอ จะเติบโตเป็นเด็กที่มั่นใจในตนเอง และมีความสุขค่ะ 

https://mjn.enfababy.com:443/%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2/%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%A7