รู้จักสมองเจ้าตัวน้อย

view 4,373

และแล้ววันที่คุณแม่เฝ้ารอก็มาถึง...ได้เจอเจ้าตัวเล็กแล้ว!!
หลังจากยอดคุณแม่อย่างเราเฝ้ารอคอยอยู่นาน นั่งนับวันรอ และทะนุถนอมเจ้าตัวเล็กในท้องมานานกว่า 9 เดือน ในที่สุดก็ได้เวลาที่ลูกจะร้องอุแว้ๆ ออกมาลืมตาดูโลกเสียทีนะคะ คุณแม่ คุณพ่ออย่างเราพอได้เห็นหน้าเขาทีไรก็สดชื่นหายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้งเลยค่ะ ถึงลูกจะออกมาอย่างปลอดภัย และสมบูรณ์พร้อมแค่ไหนนะคะ แต่เราก็ยังอดห่วงไม่ได้ว่าจะดูแลเจ้าตัวเล็กที่แสนบอบบางบางของเราให้ดีที่สุดได้อย่างไร? เรามีวิธีค่ะ ไม่ยาก ไม่ยาก

จะว่าไปแล้วนะคะ สมองของลูกเรานั้นเริ่มมีพัฒนาการได้ตั้งแต่อาทิตย์แรกตั้งแต่อยู่ในท้อง แล้วค่ะช่วงนั้นจะมีการแบ่งตัวและสร้างเซลล์ประสาทนับล้านๆ เซลล์ พอเขาโตขึ้นจนถึงอายุ 3 ขวบเมื่อไหร่น้ำหนักของสมองจะมีประมาณ 80 % ของสมองผู้ใหญ่อย่างเราเลยนะคะ

น้ำหนักสมองยิ่งมาก = พัฒนาการที่ดีตามมา
ยอดคุณแม่รู้ไหมคะ มีงานวิจัยพบว่า เด็กแรกเกิดจะมีน้ำหนักของสมองประมาณ 340 กรัม พอย่างเข้าขวบปีแรกเท่านั้นล่ะค่ะ น้ำหนักของสมองก็เพิ่มขึ้นเป็น 1,100 กรัมทันที ซึ่งก็เท่ากับว่า มีการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักสมองถึง 3 เท่าตัวเชียวนะคะ และการที่น้ำหนักสมองจะเพิ่มขึ้นได้ขนาดนี้ก็เพราะเซลล์สมองมีการขยายขนาด รวมทั้งมีการสร้างเส้นใยประสาทเพื่อเชื่อมต่อ ทำให้เกิดการสื่อสารระหว่างเซลล์สมองด้วย และผลที่น่ามหัศจรรย์ตามมาก็คือ ถ้าเซลล์สมองขยายใหญ่ขึ้น ความสามารถในการเรียนรู้ ความจำ การใช้ภาษา ความคิด การใช้เหตุผลของ เจ้าตัวเล็กก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วต่อเนื่องด้วยเช่นกันค่ะ

ถ้าเซลล์สมองของลูกจำเป็นและสำคัญขนาดนี้แล้ว คุณแม่อย่างเราก็ต้องหาวิธีดูแลเจ้าตัวเล็ก ให้ดีที่สุดอย่างแน่นอนเลยค่ะ เพื่อให้เขามีพัฒนาการทางสมองที่ดีต่อไปในอนาคต ถ้าอย่างนั้น เราคงรอช้าไม่ได้แล้วมาเตรียมตัวต้อนรับและดูแลเจ้าตัวเล็กของเราให้พร้อมสำหรับการเติบโต ที่ดีในทุกวันต่อจากนี้ ด้วย เอนฟา รหัสอัจฉริยะ ที่ประกอบด้วยการดูแล 2 ส่วนที่สำคัญๆ กัน เถอะค่ะ

  1. ด้านโภชนาการ : Nutrition คุณค่าอาหาร เพื่อการพัฒนาสมอง ให้เจ้าตัวเล็กกินอิ่ม ด้วยอาหารที่มีประโยชน์ที่สุดนะคะ 
  2. ด้านการเลี้ยงดูที่ง่ายๆ แต่ทั้งสนุกและมีประโยชน์ ด้วย Symphonies เสียงดนตรี สื่อดี เพิ่มเพิ่มไอคิว, Play เล่นดี สมองดี มีศักยภาพ และ Language พูดคุยสื่อภาษาพัฒนาการเรียนรู้

เห็นไหมคะว่าดูๆ แล้วก็ไม่น่าจะยากเกินความสามารถของยอดคุณแม่อย่างเราไปได้ ถ้าพร้อมแล้วมาดูกันสิคะว่า เราจะเริ่มต้นดูแลเจ้าตัวเล็กวัยแรกเกิดจนถึง 6 เดือนแรกได้อย่างไรกันบ้าง?

Do you know?
ยอดคุณแม่รู้ไหมคะว่า การสร้างเส้นใยประสาทของเจ้าตัวเล็กของเรานั้น เกิดขึ้นมาได้อย่างไร?

1. การสร้างเส้นใยประสาท (Axon, Dendrite) และจุดเชื่อมต่อ (Synapas)
เส้นใยประสาทนี่ถ้าจะเทียบง่ายๆ ก็น่าจะเหมือนกับการโครงข่ายสายโทรศัพท์ดีๆ นี่เองค่ะ ถ้าเราเดิน สายโทรศัพท์ดีแล้ว การติดต่อสื่อสารกับบ้านไหนก็ง่ายยิ่งกว่าอะไรทั้งหมด ก็เหมือนสมองของเจ้าตัวเล็กนั่นล่ะคะ ที่ต้องการมีการต่อสาย เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลต่างๆ ระหว่างเซลล์แต่ละเส้นแต่ละจุดเชื่อมต่อ ยิ่งมีสายมีจุดเชื่อมต่อมากแค่ไหน ลูกของเราก็จะมีพัฒนาการเรียนรู้ด้านต่างๆ ได้เร็วเท่านั้นล่ะคะ

ปกติแล้วสมองของเราจะทำงานตลอดเวลา ถ้าจุดเชื่อมต่อของเจ้าตัวเล็กพัฒนาอย่างรวดเร็วตั้งแต่เด็ก ก็เท่ากับเป็นการเตรียมพร้อมให้เขาปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมภายนอกได้เร็ว เท่านั้น

2. ช่วงที่มีการสร้างไขมันหุ้มเส้นใยประสาทไมอีลีน (Myelin)
ไมอีลีนนี้จะทำหน้าที่สื่อสารรับส่งสัญญาณข้อมูลระหว่างเซลล์ให้เป็นไปอย่างรวดเร็วนั่นเองค่ะ มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า น้ำหนักของสมองที่เพิ่มขึ้นหลังคลอดของเด็กทารกมากถึง 3 เท่า ตัวส่วนหนึ่งก็มาจากการเพิ่มขึ้นของไมอีลีนด้วยนะคะ ซึ่งพัฒนาการของไมอีลีนจะมีเป็นระยะๆ คือตั้งแต่แรกคลอด, อายุ 1 เดือน, 3 เดือน, 6 เดือน และต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนถึง 15 เดือน, 2 ปี, 4 ปี, 6 ปี และ 8 ปี ซึ่งช่วงนี้เป็นเวลาที่เจ้าตัวเล็กของเราต้องการอาหารที่เป็นกรดไขมันโอเมก้าเป็นจำนวนมาก เพื่อหยิบมาใช้ในการสร้างเยื่อไมอีลีนในสมองค่ะ

เพราะอายุแรกเกิดจนถึง 6 เดือน เป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดช่วงหนึ่งใน
ชีวิตของเจ้าตัวเล็กเลยก็ว่าได้นะคะ คุณแม่อย่างเราคงต้องดูแลเจ้าตัว
เล็กอย่างใกล้ชิดเข้าไว้ โดยเฉพาะเรื่องของอาหารที่ลูกต้องกินในแต่
ละวัน เพราะอาหารมีส่วนสำคัญมากในการกระตุ้นพัฒนาการของสมอง
เลยค่ะ และยังช่วยในเรื่องของพฤติกรรม สติปัญญา และความฉลาดของ
เจ้าตัวเล็กของเราอย่างมากด้วยค่ะ เพราะกว่า 60 % ของสมองเจ้าตัว
เล็กประกอบไปด้วยไขมันที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ เขาก็ต้อง
ได้รับจากอาหารโดยเฉพาะอาหารที่เป็นแหล่งไขมัน อย่าง ปลา และ
เนื้อสัตว์อื่นๆ ค่ะ
photo_106.gif

 

"นมแม่ ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย มี้ด จอห์นสัน สนับสนุนการให้นมบุตรมากที่สุดและนานที่สุด", ข้อมูลเพิ่มเติม www.thaibreastfeeding.org

https://mjn.enfababy.com:443/%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2