วิธีดูแลและแก้ไขเมื่อลูก ‘ชัก’
view 2,800
ในเด็กอายุ 6 เดือน -3 ปี มักพบอาการชักได้บ่อย เพราะสมองของเด็กยังมีการพัฒนาไม่เต็มที่ จึงมีความไวต่อการกระตุ้นจากอุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้น ส่วนใหญ่อาการชักมักเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว (เกิน 39 องศาเซลเซียส) และมักเกิดในวันแรกหรือวันที่ 2 ของการมีไข้ ซึ่งเด็กจะมีอาการเกร็งทั้งตัว ตาเหลือก กัดฟันและลิ้น แขนขากระตุกทั้ง 2 ข้าง ซึ่งกินเวลาประมาณ 1-3 นาที ช่วงนี้อาจมีน้ำลายฟูมปากหรือริมฝีปากและปลายมือปลายเท้ามีสีคล้ำเขียวได้ ในรายที่ชักเป็นเวลานาน หลังหยุดชักแล้วเด็กมักจะหลับหรือสะลึมสะลือไปชั่วครู่ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ต้องตั้งสติดีๆ แล้วรีบปฐมพยาบาลให้ลูก โดย…
|
- ขณะลูกชัก ห้ามป้อนสิ่งใดเข้าทางปากลูกโดยเด็ดขาด แม้กระทั่งยาลดไข้ เพราะอาจทำให้สำลักได้
- เมื่ออาการชักสงบแล้ว รีบพาลูกไปพบแพทย์ที่ใกล้บ้านที่สุด เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียด
การรีบปฐมพยาบาลและพาลูกไปพบแพทย์อย่างทันท่วงทีจะช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากอาการชักที่มีต่อสมองของลูกน้อยได้มากขึ้น