ต่อยอดการเรียนรู้ของลูกด้วยเอนฟา รหัสอัจฉริยะ
view 1,627
เมื่อคุณพ่อคุณแม่พาลูกน้อยไปร่วมงานกิจกรรมเด็กนั้น บางครั้งนอกจากความสนุกแล้ว เราอาจจะไม่ทราบว่าแต่ละกิจกรรมนั้น ได้ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูกอย่างไรบ้าง และจะปรับกิจกรรมเหล่านั้นไปใช้กับลูกที่บ้านได้อย่างไร ในงาน เอนฟา ไขรหัสอัจฉริยะ ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นมาภายใต้แนวคิด เอนฟา รหัสอัจฉริยะ มีกิจกรรมหลายอย่างที่พ่อแม่สามารถนำไปปรับใช้กับลูกที่บ้านได้
สร้างจังหวะในชีวิตประจำวัน - ดนตรีมีอยู่ทุกที่เราสามารถสอดแทรกการใช้ดนตรีกับลูก ผ่านจังหวะในกิจวัตรกับลูก เช่น สร้างจังหวะให้ลูกสนใจและจดจ่อได้ เมื่อเรียกชื่อ คุณแม่ปรบมือ 2 ครั้งตามชื่อของลูก เช่น “น้อง.....” การจดจำก็เริ่มแล้ว จากนั้นยืดความสนใจด้วยการเพิ่มการปรบมือไปกับกิจกรรมที่ทำ เช่น “น้องฟ้าอาบน้ำ” (ปรบมือ 4 ครั้ง) ก็ยิ่งช่วยยืดความสนใจและสร้างการจดจำออกไปอีก
ชวนลูกทำกิจกรรมนั่งโต๊ะ – กิจกรรมนั่งโต๊ะต่างๆ เช่น การต่อบล็อก ปั้น ตัด ปะ วาด ฯลฯ ได้ชื่อว่าเป็นการเล่นที่ทำให้เด็กเกิดสมาธิได้ดีที่สุดกิจกรรมหนึ่ง เพราะเขาต้องใช้สมาธิ ต้องนิ่ง และจดจ่อกับสิ่งที่ทำอยู่ ทั้งยังพัฒนาความจำจากได้เห็นการเปลี่ยนรูปร่างของวัตถุ ที่เกิดจากมือ และการกระทำของเขาเองและต่อยอดไปสู่การคิดแก้ปัญหา ระหว่างทำชิ้นงานนั้นสำเร็จ กิจกรรมเหล่านี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถเล่นกับลูกที่บ้านได้ตลอดเวลา | |||
คณิตศาสตร์จากการเล่น – ภาพนี้ เด็กๆ กำลังเรียนรู้คณิตศาสตร์ในเรื่องสีสัน รูปทรงจากต้นไม้และลูกบอล เรียนรู้จำนวนนับจากโจทย์ที่ให้ เช่น “นำผลไม้สี...มาให้แม่...ผล” เป็นต้น ซึ่งเราสามารถนำการเล่นนี้มาปรับใช้กับลูกได้ โดยการใช้ของใกล้ตัวนั้นแหละค่ะ กำหนดสีสัน รูปทรง หรือจำนวนให้เขา เพียงเท่านี้ลูกก็ได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐานได้แล้ว |
เล่นละครจากนิทาน- นอกจากเล่านิทานให้ลูกฟังแล้ว คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถต่อยอดนิทานด้วยการจำลองเหตุการณ์ในนิทาน โดยให้เด็กๆ ได้เล่นเป็นตัวละคร ในนิทานนั้น จะยิ่งสร้างความตื่นเต้น ความสนใจ ให้เขาค่ะ โดยสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในนิทาน เช่น อุปสรรคที่ตัวละครเจอ อย่างภูเขา เราก็อาจปรับสิ่งของที่มีอยู่ในบ้านนั่นแหละค่ะ มาเล่น เช่น เอา หมอนหลายๆ ใบมาวางให้สูงเป็นภูเขา ให้ลูกคิดหาทางผ่านไปให้ได้ เมื่อตัวละครพบสะพานไม้ หรือต้องปีนต้นไม้ ก็เปลี่ยนเป็นการขึ้น-ลงหรือข้ามบันไดที่บ้านแทน เขาวงกตก็ลองวางสิ่งกล่องหลายๆ อันให้เขาหาทางออกดู เป็นต้น รับรองว่าลูกๆ สนุกและยังได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ให้เขาได้ด้วย ฝึกคิดจากนิทาน – นิทานคือเครื่องมือชั้นดีในการสร้างสมาธิ ความจำ และการคิดวิเคราะห์ให้เด็กๆ เมื่ออ่านหรือเล่านิทานให้ลูกฟังจบแล้ว ชวนลูกพูดคุยและตั้งคำถามถึงเรื่องราวในนิทานต่อ เช่น ลูกคิดว่าแครอตกินได้มั้ย ใครกินบ้าง/ เรื่องจำนวนนับ- ชวนนับเกร็ดมังกร/ นับจำนวนแครอต/ สอนเรื่องรูปทรง / พูดคุยเรื่องมังกรกัน เช่น ลูกคิดว่ามังกรดุมั้ย กินอะไรเป็นอาหาร เป็นต้น ลูกก็จะได้ฝึกคิดจากเรื่องราวที่ได้ฟังมา |