พัฒนาการและพฤติกรรม.png   โภชนาการ.png   สุขภาพกาย.png   ภูมิแพ้.png
             
 
 
   
   
   
   
   
  ภูมิแพ้เกิดได้อย่างไร.png
   
  ภูมิแพ้เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองแตกต่างไปแนวทางปกติ คือมีความไวเกินกับสิ่งที่ไม่อันตราย ซึ่งภูมิแพ้นี้จะเกิดในบางคนเท่านั้น เช่น บางคนแพ้อาหาร นมวัว ไข่ บางคนแพ้ไรฝุ่น แพ้แมว แพ้หญ้า เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ คนที่ไม่ได้เป็นภูมิแพ้จะสามารถทนได้ โรคภูมิแพ้เกิดได้หลายระบบ ตั้งแต่ผิวหนัง คือเป็นผื่นคัน ที่แก้ม ตามตัว หรือทางเดินหายใจ อาการแสดงคือ เป็นหวัด น้ำมูกไหล หอบ และทางเดินอาหาร ได้แก่ ท้องเดิน อุจจาระเป็นมูก อาเจียนบ่อย เลี้ยงไม่โต เป็นต้น  
 
 
 
   
   
   
  อาการเป็นหวัด.png
     
  โรคหวัดเป็นการติดเชื้อ ส่วนใหญ่มักจะเป็นจากเชื้อไวรัส อาการมักจะมีไข้ น้ำมูกไหล ไอ หรือเจ็บคอ และใช้ เวลา 5-7 วันจึงจะหาย โดยอาจหายเองได้หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด แต่ถ้ามีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย อาจให้เวลานานขึ้นจึงจะหาย ส่วนอาการของภูมิแพ้ โดยเฉพาะภูมิแแพ้จมูกหรือภูมิแพ้อากาศ มักจะมีอาการเป็นพักๆ และเป็นๆ หายๆ ไม่มีไข้ มีเพียงแค่น้ำมูก จาม คันจมูกคันตา  
     
  ถ้าเด็กเป็นหวัดบ่อยๆ โดยไม่มีไข้ตัวร้อน และไม่ได้มีลักษณะติดเชื้อใดๆ สันนิษฐานว่าอาจจะเกิดจากโรคภูมิแพ้หรือที่เรียกว่าแพ้อากาศได้ โดยที่มักจะมีอาการเป็นช่วงเวลาเช่น ช่วงเช้า หรือช่วงกลางคืน มีน้ำมูกใส จามบ่อยๆ เป็นๆ หายๆ คันจมูกคันตา หรือคัดแน่นจมูก อาการมักจะเป็นเรื้อรังกว่าโรคหวัด ถ้ามีลักษณะแบบนี้แนะนำว่าคุณแม่ควรพาลูกไปตรวจวินิจฉัยเพื่อรักษาโรคภูมิแพ้อย่างต่อเนื่อง  
 
 
 
   
   
   
  เด็กเล็กๆ.png
     
  ระวังเรื่องฝุ่น เช่น ฝุ่นที่นอน หมอนผ้าห่ม ที่จะมีไรฝุ่นที่เป็นสารก่อภูมิแพ้อยู่ ระวังสัตว์เลี้ยงที่มีขน เช่น แมว สุนัข เพราะขนหรือสะเก็ดรังแคของสุนัขหรือแมว ทำให้เด็กมีอาการของโรคภูมิแพ้เกิดขึ้นได้ ควรให้ลูกได้ถูกแสงแดดบ้าง เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน อยู่ในที่อากาศปลอดโปร่ง และถ่ายเทบ้าง ไม่ควรอยู่ห้องแอร์ตลอดเวลา  
     
  สำหรับสัตว์เลี้ยงในบ้านที่เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เด็กมีอาการของโรคภูมิแพ้ได้นั้น หากยังไม่มีอาการใดๆ ร่วมกับไม่มีคนในครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้ ไม่ต้องกังวลเรื่องสัตว์เลี้ยงว่าจะทำให้เกิดปัญหาภูมิแพ้กับลูก  
 
 
 
   
   
   
  การดูแลรักษาภูมิแพ้.png
     
  ภูมิแพ้ที่พบบ่อยในเด็กคือ ภูมิแพ้ผิวหนัง โดยมักจะเป็นผื่นเม็ดเล็กๆ ขึ้นตามแก้ม แขน ขา หรือลำตัว ผื่นมักจะแดง ในบางรายอาจจะมีการอักเสบติดเชื้อแทรกซ้อนได้ และอาการอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญคือมักจะคัน โดยเฉพาะผื่นที่เกิดจากผื่นภูมิแพ้ ในเด็กที่ยังเล็กมากๆ เขาอาจจะใช้วิธีเอาหน้าถูกับที่นอนหรือเวลาคุณพ่อ คุณแม่อุ้ม เพราะเขาอาจจะยังเกาเองไม่ได้ ส่วนในเด็กโตมักจะเกามาก บางครั้งเกาจนเป็นแผลถลอก จนติดเชื้อแทรกซ้อนได้ ส่วนการรักษาควรต้องใช้ยาทารักษา ซึ่งปัจจุบัน ยาในกลุ่มสเตรียรอยด์ยังเป็นยาหลักที่ใช้รักษาผื่นภูมิแพ้ผิวหนังได้เป็นอย่างดี แต่จะต้องเลือกชนิดของยาทาสเตรียรอยด์ที่เหมาะสมกับอายุของเด็กและบริเวณที่เป็นผื่น ซึ่งการใช้ยากลุ่มนี้อาจใช้ด้วยความระมัดระวังและเหมาะสม ไม่แนะนำให้คุณพ่อ คุณแม่ไปซื้อยามาทาเอง ควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์โดยเฉพาะ เพราะคุณหมอจะติดตามและเฝ้าระวังผลรักษา ผลข้างเคียง
 
     
  ในเด็กที่มีปัญหาผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง มักจะพบปัญหาผิวแห้งร่วมด้วยเสมอ การใช้โลชั่นที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม และมีค่า ph เป็นกลาง ทาเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว และช่วยป้องกันการกำเริบของผื่นภูมิแพ้ผิวหนังได้ด้วย  
     
  ส่วนภูมิแพ้จมูกหรือภูมิแพ้อากาศ การรักษาคือรับประทานยาแก้แพ้ ซึ่งจะไปลดอาการต่างๆ ของโรคภูมิแพ้จมูกได้เป็นอย่างดี โดยปัจจุบันยากลุ่มนี้มีการพัฒนาตัวยาขึ้นมาจนสามารถใช้ยาเพียงวันละครั้งและไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงคือง่วงนอนหรือปากแห้งเสมหะเหนียว ซึ่งมากพบในกลุ่มยาแก้แพ้รุ่นเก่า  
     
  การทานยาแก้แพ้ชนิดนี้สามารถทานติดต่อกันเป็นเวลานาน ไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงใด รวมทั้งช่วยควบคุมอาการของโรคภูมิแพ้ได้ดีขึ้น โดยแพทย์ผู้ดูแลจะพิจารณาเป็นรายๆ ในการใช้ยาแก้แพ้เหล่านี้ ว่าจะต้องใช้ต่อเนื่องนานเพียงใด ส่วนยาป้องกันโรคหืดชนิดรับประทาน ปัจจุบันมีเพียงยาตัวเดียวคือ Montelukast ซึ่งใช้ในเด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป  
     
  ในเด็กที่มีอาการของโรคภูมิแพ้หรือโรคหืด การดูแลสุขภาพให้ร่างกายแข็งแรง การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกายจะช่วยให้เด็กมีร่างกายที่แข็งแรงขึ้น อาจทำให้อาการของโรคภูมิแพ้ต่างๆ ลดน้อยลงได้โดยไม่ต้องทานยามาก  
 
 
 
   
   
   
   
  ภูมิแพ้เป็นกรรมพันธุ์.png
     
  โรคภูมิแพ้เป็นโรคไม่ติดต่อไม่ใช่การติดเชื้อ แต่อาจมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ เช่น พ่อหรือแม่เป็นโรคภูมิแพ้ก็มีผลทำให้ลูกเกิดปัญหาภูมิแพ้ได้สูงกว่าเด็กที่ไม่มีพ่อหรือแม่เป็นเลย ส่วนเรื่องการป้องกันโดยเฉพาะในครอบครัวที่มีพ่อแม่หรือลูกคนก่อนหน้านี้เป็นภูมิแพ้ ปัจจุบันยังแนะนำให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 4-6 เดือน ควรจะเลี่ยงการดื่มนมวัวในช่วง 6 เดือนถึง 1 ปีแรก ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการเกิดภูมิแพ้ได้ สำหรับคุณแม่ที่ต้องการจะเสริมนมอาจพิจารณาเลือกเป็นนมผงสูตรป้องกันภูมิแพ้นมวัว โดยมี ข้อมูลจากการศึกษาในต่างประเทศที่ใช้นมที่มีการย่อยโปรตีนของนมในเล็กลง อาจช่วยลดโอกาสการเกิดเรื่องผื่นภูมิแพ้ผิวหนังหรือแพ้อาหารได้ แต่ไม่ช่วยลดโอกาสการเกิดโรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ  
     
  อาการแพ้นมวัวประมาณ 50% มักหายก่อน 1 ปี 80-90% หายที่ประมาณ 3 ปี การสังเกตนั้นก็คือดูว่าตอนแรกอาการเป็นอย่างไร หากบังเอิญรับประทานอาหารนั้นแล้วไม่มีอาการดังกล่าวแปลว่าอาการแพ้เริ่มหายแล้ว