พัฒนาการและพฤติกรรม.png   โภชนาการ.png   สุขภาพกาย.png   ภูมิแพ้.png
             
 
 
   
   
   
   
   
  เด็กไม่ยอมทาน.png
   
 
ปัญหายอดฮิตของคุณแม่ สรุปคำตอบของคุณหมอได้ดังนี้
 
 
     
  โดยทั่วไปถ้าเด็กปฏิเสธอาหาร แสดงว่าเด็กไม่หิว และมักสะท้อนถึงวินัยในการรับประทานอาหารที่แฝงซ่อนอยู่ด้วย นั่นคือผู้ใหญ่อาจมีความวิตกกังวลหรือความคาดหวังต่อการกินและพัฒนาการของเด็กอยู่ จึงพยายามให้อาหารเด็กอย่างต่อเนื่องบ่อยๆ จนเด็กเกิดความเบื่อ ความรำคาญเป็นสงครามการต่อสู้ไม่รู้จบ  
     
  ผู้ใหญ่ลองตั้งหลักใหม่ แข็งใจรอให้ลูกหิว แสดงความต้องการอาหาร โดยระหว่างนั้นเก็บขนมกรุบกรอบ อาหารซอง ลูกอม ของขบเคี้ยวให้หมด ชวนลูกเล่นอ่านหนังสือ ร้องเพลง ฯลฯ จนถึงเวลาที่เขาถามถึงอาหาร ผู้ใหญ่จึงตอบสนองด้วยอาหารที่อร่อยและมีคุณค่าในปริมาณไม่ต้องมากนัก และให้เด็กรับประทานจนหมดได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องอาศัยการบังคับยัดเยียดจากผู้ใหญ่ ได้แค่ไหนแค่นั้น ชมเชยสำทับไปเลยว่าหนูเก่งจัง แล้วเก็บที่เหลือให้หมด ชักชวนทำกิจกรรมต่างๆ ต่อไปอีกเหมือนรอบที่แล้ว หากมีความหนักแน่นเช่นนี้ เด็กมักจะพัฒนานิสัยการกินที่เหมาะสมได้ในที่สุด เด็กที่จะปฏิเสธอาหารทั้งที่ตัวเองหิวโหยพบได้น้อยมาก  
     
  ส่วนเด็กที่ทานได้น้อยเพียง 2-3 คำ ยังดีกว่าไม่ทาน เพราะแสดงว่าลูกยอมให้มีอาหารอื่นนอกจากนมอยู่ในปาก ก็พยายามเชียร์ ชมว่าเขากินได้ ให้เขากินเอง เพราะเด็กจะชอบทำอะไรเอง ถ้ารู้สึกว่าเมื่อหยิบของใส่ปากเอง ตักใส่ปากเอง เมื่อกินได้แล้วได้คำชมจากคุณแม่ เขาจะพยายามมากขึ้น ไม่ต้องบังคับกดดันให้กินหมดถ้วยตามที่คุณแม่ต้องการ เริ่มจาก 2-3 คำ เป็น 5-6 คำ ค่อยๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ให้ลูกหัด ตักกินเองจากถ้วยและช้อนเล็กของลูก และคุณแม่รอจังหวะป้อนเสริมจากถ้วยอีกชุดของคุณแม่ก็ได้ ถ้าหากลูกอม ปิดปาก ก็หยุดป้อน บางทีคุณแม่จะกังวลเพราะลูกกินไปแค่นิดเดียว จะได้รับสารอาหารพอไหม แต่เมื่อรู้ว่าลูกกินไปนิดเดียว รอผ่านไปสัก 1-2 ชั่วโมงลูกจะหิว ก็จัดอาหารให้กินใหม่อีกรอบหนึ่ง หรือให้รองท้องด้วยของว่างหรือนมสักครึ่งหนึ่ง ก็จะทำให้ประทังความหิวไปได้ แล้วร่นเวลามื้อหน้าให้เร็วขึ้น และการกินอาหารแต่ละมื้อไม่ควรยืดเยื้อเกิน 30 นาที ฝึกไปเรื่อยๆ ลูกก็จะมีวินัยในการกินได้ในที่สุด  
 
 
     
     
     
     
     
     
  หากไม่ให้ลูกกินอาหารเสริม.png
   
 
คุณแม่บางคนสงสัยว่าหากเราไม่ให้อาหารเสริมกับลูกจะได้หรือไม่ คุณหมอตอบว่า...
 
 
     
  เมื่อายุ 6 เดือนขึ้นไป เด็กต้องได้รับอาหารเสริมตามวัย เพราะเขาต้องเรียนรู้สัมผัสของอาหารที่ไม่ใช่นมเพียงอย่างเดียว ถ้าเราไม่ให้เขาได้กินอาหารเสริมตามวัยของเขา ลูกจะมีปัญหาเรื่องเลือกกินอาหารในอนาคตอย่างแน่นอน  
     
  การเริ่มอาหารเสริมให้ลูกนั้นต้องเริ่มจากบดละเอียด ทานง่าย เมื่อลูกคุ้นเคยก็ค่อยๆ ปรับอาหารให้หยาบขึ้น เมื่อลูกอายุ 1 ขวบขึ้นไป ก็จะเริ่มทานอาหารคล้ายผู้ใหญ่ได้ หากเด็กไม่ยอมทานข้าวก็อาจให้ลองโจ๊ก ข้าวต้ม หรือขนมปังแบบนิ่มๆ ที่เคี้ยวง่ายไปก่อน เมื่อเริ่มทานได้จึงเริ่มให้อาหารที่แข็งขึ้น  
 
 
     
     
     
     
     
  ปริมาณนมที่ลูก.png
   
 
คุณแม่บางคนสงสัยว่าหากเราไม่ให้อาหารเสริมกับลูกจะได้หรือไม่ คุณหมอตอบว่า...
 
 
     
 
  • สัปดาห์แรก - ทารกจะกินนมทุกๆ 2-3 ชั่วโมง ครั้งละ 1-2 ออนซ์ และเพิ่มเป็นครั้งละ 2-4 ออนซ์
  • ปริมาณนมที่ต้องการ ขณะยังไม่ได้เริ่มอาหารเสริม (น้อยกว่า 4-6 เดือน) = 5.5 ออนซ์/นน.ตัว (กิโลกรัม)/วัน เช่นน้ำหนัก 5 กก. ต้องการนม 5.5 x 5 = 27.5 ออนซ์/วัน
  • 1 เดือนแรก วันละ 5-7 ขวด ขวดละ 3-4 ออนซ์
  • อายุ 2 เดือน วันละ 6-8 ขวด ขวดละ 4-6 ออนซ์
  • อายุ 4 เดือน วันละ 4-5 ขวด ขวดละ 6-7 ออนซ์
  • อายุ 6 เดือน วันละ 3-4 ขวด ขวดละ 6-8 ออนซ์
  • ถ้ากินนมมากกว่า 32 ออนซ์/วัน ให้เริ่มอาหารเสริมได้
  • 4-5 เดือน พยายามงดมื้อกลางคืน (นอนนาน 5 ชั่วโมง)
  • 6 เดือน เริ่มฝึกดื่มน้ำจากแก้ว
  • 9 เดือน งดดูดนมจากขวด หลังมื้ออาหารเสริม
  • 12 เดือน งดนมบางมื้อ ใช้ถ้วยหัดดื่ม
  • 18 เดือน เลิกขวดนมจะทราบว่าลูกต้องการนมมากขึ้นหรือไม่ สังเกตจากการดูดนมหมดขวดอย่างรวดเร็ว และหันซ้ายหันขวามีทีท่าต้องการเพิ่มอีก
  • สำหรับเด็กอายุ 1 ขวบขึ้นไป รับประทานอาหารหลัก 5 หมู่ ทั้ง 3 มื้อ และดื่มนมเสริมวันละ 2-4 แก้ว หรือ 16-32 ออนซ์ ปริมาณนมขึ้นกับความต้องการที่แตกต่างกันของเด็กแต่ละคน