t6-2.png

สมองเด็กมีการหยุดพัฒนาหรือไม่?

สมองของคนเราไม่เคยหยุดพัฒนา แต่จะมีช่วงของการพัฒนาที่แตกต่างกัน ในช่วงแรกของชีวิต คือแรกเกิด- 3 ปี สมองจะพัฒนาและเติบโตในเชิงหน้าที่และปริมาณ คือเพิ่มจำนวนของเส้นใยประสาทและเพิ่มขนาด ส่วนหลังจากนี้ก็เป็นการพัฒนาบทบาทหน้าที่เป็นส่วนใหญ่เพื่อให้เก่งขึ้น เพราะเซลล์สมองส่วนที่ไม่ได้ใช้จะถูก Pruning คือถูกลดบทบาทไปให้ส่วนที่ได้ใช้อย่างเต็มที่ถูกพัฒนาขึ้นมาแทน ดังนั้นหากพ่อแม่ต้องการให้สมองของลูกได้พัฒนาบทบาทหน้าที่อย่างเต็มที่ในทุกๆ ด้านก็ต้องส่งเสริมให้ลูกได้ทำกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อพัฒนาสมองในทุกๆ ด้าน เช่น ได้ฝึกใช้สมองในการคิดวิเคราะหฺ์ แก้ปัญหา ฝึกใช้ภาษา ฝึกเรื่องดนตรี ไม่ใช่ให้เน้นแต่ด้านเรียนวิชาการอย่างเดียว"

  d6-2.png
  นพ.ธีรชัย บุญยะลีพรรณ
กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการ รพ.ลาดพร้าว
 
d9.jpg  
นพ.ไพบูลย์ เอกแสงศรี
กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ
 
t9.jpg

ให้ลูกกินอย่างไรเพื่อพัฒนาสมอง 

การพัฒนาสมองนั้นต้องอาศัยอาหารตามวัยเป็นหลัก ร่วมกับการเลี้ยงดูตามวัย นั่นคือในช่วง 6 เดือนแรกนั้นต้องดื่มนมแม่ การดื่มก็จะมีการสัมผัสด้วยการอุ้ม การประสานสายตา การพูดคุยกับลูก หากจำเป็นต้องให้นมขวดก็ต้องใช้ชนิดที่มีสารอาหารคล้ายนมแม่ให้มากที่สุด และเลี้ยงในลักษณะเดียวกัน หลัง 6 เดือนก็ต้องเริ่มให้อาหารเสริม การที่ลูกได้สารอาหารครบพร้อมการสัมผัสที่เป็นการกระตุ้นสมองให้มีพัฒนาการที่ดีได้

 
t2.jpg

ปัจจัยส่งเสริมและขัดขวางการเติบโตของสมองเด็กในครรภ์มีอะไรบ้าง?

ปัจจัยที่ส่งเสริมก็คือ สิ่งแวดล้อม (Environment) โภชนาการ (Nutrition) และพันธุกรรม (Genetic) ส่วนปัจจัยที่ไม่ได้กระตุ้น คือการที่แม่ไม่มีความรู้ความสนใจในการกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์ ทำให้ทารกเสียโอกาสที่จะพัฒนาสมองตั้งแต่ในครรภ์ การไม่สนใจเรื่องโภชนาการทำให้ทารกขาดสารอาหารที่จำเป็นในการพัฒนาศักยภาพของสมอง

  d2.jpg
  นพ.อานนท์ เรืองอุตมานันท์
สูติ-นารีแพทย์ โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ
 
d10.jpg  
อาจารย์แพทย์หญิงดวงรัตน์ วังเกล็ดแก้ว
อาจารย์และกุมารแพทย์ด้านจิตวิทยาเด็กประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
 
t10.jpg

หากสมองเด็กไม่ได้รับการกระตุ้น จะเกิดอะไรขึ้นกับเด็กคนนั้น

สมองเด็กคนนั้นก็จะไม่ได้รับการกระตุ้นให้ทำงานอย่างเต็มศักยภาพสมองของคนเรานั้นเริ่มเจริญเติบโตมาตั้งแต่ในครรภ์ สมองของเด็กควรจะได้รับกระตุ้นตั้งแต่ในครรภ์ เช่น โดยแม่กระตุ้นผ่านการพูดคุย ลูบสัมผัสหน้าท้อง หรือให้ลูกฟังเพลง เมื่อเด็กคลอดออกมาพร้อมเซลล์สมองนับแสนล้านเซลล์ และเด็กจะฉลาดเมื่อได้รับการกระตุ้นให้เซลล์สมองเกิดการเชื่อมโยงกัน เซลล์สมองแต่ละเซลล์จะมีจุดเชื่อมโยงกันนับหมื่นจุด โดยเด็กจะต้องได้รับประสบการณ์ที่ดี เพื่อให้วงจรการเชื่อมโยงเป็นไปอย่างแข็งแรง 

เพราะสมองเป็นอวัยวะที่ควบคุมทุกอย่างในร่างกายของเรา การกระตุ้นสมองก็คือการกระตุ้นพัฒนาการทุกอย่างของเด็ก หากต้องการให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านที่ดี ก็ต้องกระตุ้นการทำงานของสมองค่ะ

 
t5.jpg

เคล็ดลับการส่งเสริมการทำงานของสมองเด็ก

สมองเด็กในช่วง 3 ขวบปีแรก จะเป็นช่วงที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาสูงสุดของเซลล์และแตกกิ่งก้านสาขาเพื่อเชื่อมต่อเป็นโครงสร้างใยประสาท เด็กที่ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการอย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหว การเล่น เพื่อมีปฏิสัมพันธ์สังคมกับผู้อื่น มีการพูดคุยโต้ตอบ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษา หรือได้รับโอกาสให้ได้สำรวจ สังเกต หรือแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เป็นการส่งเสริมการทำงานของสมองของเขา โดยรวมเด็กในวัยนี้ เรียนรู้ผ่านระบบประสาทสัมผัส และการเคลื่อนไหว ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเปิดโอกาสและสร้างโอกาสให้เด็กได้ใช้สมอง อย่างรอบด้านผ่านการเล่นและสำรวจโลกรอบตัวของเขา ที่สำคัญพ่อแม่ต้องลงไปเล่นกับเขาใช้ตัวเองเป็นเสมือนของเล่นของลูกด้วยค่ะ

  d5.jpg
  พญ.จารุวรรณ กิตติโศภิษฐ์
กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการ และพฤติกรรมบำบัด ประจำมีรักคลินิก อาจารย์รับเชิญภาควิชาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น รพ.รามาธิบดี
ที่ปรึกษา Early Childhood Program St.Andrews International School (Samakee)

 
dhaf150.png   bf150.png   bq150.png   bx150.png
 
4bshf633.png