การมองเห็นสำคัญต่อพัฒนาการความฉลาดของทารกแรกเกิด
view 6,961
สำหรับทารกแรกเกิด การมองเห็นเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการเรียนรู้และความฉลาดของเด็ก การมองเห็นเป็นความสามารถแรกที่จะนำไปสู่พัฒนาการอื่นๆ เพราะลูกโดยเฉพาะในวัยแรกเกิด-6 เดือน จะใช้ดวงตารับรู้ข้อมูล ทำให้เกิดความอยากรู้ อยากสัมผัสสิ่งที่เห็น จึงทำให้มือ แขน ขาเคลื่อนไหวประสานกับสายตา ทำให้สมองเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจากข้อมูลที่ได้รับ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เองจะเป็นตัวกระตุ้นพัฒนาการทางสมองของลูกและนำไปสู่พัฒนาการด้านอื่นๆ ทั้งการนั่ง คว่ำ คลาน หรือการเดิน พบว่าข้อมูลต่างๆ ที่เด็กรับรู้มาจากการมองเห็นถึงกว่า 80 เปอร์เซ็นต์
แต่ที่เราต้องรู้ก็คือ ช่วงแรกเกิดเซลล์สมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็น ยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ แต่ก็จะค่อยๆ ประสานเซลล์สมอง พัฒนาเต็มที่และรวดเร็ว เมื่อมีการกระตุ้นการมองเห็นของลูกให้เกิดการทำงาน ด้วยวิธีที่สอดคล้องกับพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย ฉะนั้น ยิ่งกระตุ้นมากเท่าไหร่ ก็เท่ากับช่วยสะสมข้อมูลต่างๆ เก็บไว้ในสมอง ก่อเกิดเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกันเป็นอย่างดี ส่งผลต่อความฉลาดของลูกต่อไป
พัฒนาการและการส่งเสริมการมองเห็นของลูกน้อย 6 เดือนแรก
1 เดือน : ลูกพยายามเพ่งสิ่งต่างๆที่สนใจที่อยู่ห่างออกไปได้ประมาณ 12-15 นิ้ว ลูกสามารถเอื้อมไปแตะสิ่งที่มองเห็นได้ ลูกจะมองเห็นได้ชัดเจนในระยะใกล้ (ระยะห่าง 30-50 ซม.) และจะเห็นเป็นภาพขาวดำ
- สบตาลูกแล้วพูดคุย ยิ้ม หัวเราะ หรือเคลื่อนหน้าไปมาช้าๆให้ลูกมองตาม
- แขวนของเล่นสีสดในระยะที่ลูกเอื้อมมือถึง
- ทำท่ากระเดาะลิ้นหรือทำปากออกเสียงอา-อี-อู เพื่อช่วยเรียกความสนใจให้ลูกหันมามอง
2 เดือน : เริ่มแยกวัตถุที่สี รูปร่างกัน แต่ยังแยกโทนสีใกล้เคียงกันไม่ได้ เช่น สีแดง สีส้ม เริ่มมองวัตถุที่จุดกึ่งกลาง
- หาของเล่นสีสด ถือภาพสีขาว-ดำ-แดง เคลื่อนไปมาให้ลูกมองตาม
|
|
3 เดือน : มองเห็นได้ดีขึ้น เพราะสามารถปรับระยะมองภาพใกล้ไกลได้ ตาทั้งสองข้างเคลื่อนไหวประสานกันได้ดี
4 เดือน : ลูกมองเห็นค่อนข้างสมบูรณ์ ปรับภาพในระยะต่างๆได้ชัดเจน หันไปมองซ้าย ขวา บนล่างตามวัตถุที่เคลื่อนไหวได้มองตามนิ้วไล่ไปตามหนังสือแต่ละหน้าได้
5 เดือน : ลูกจดจำวัตถุได้
|
|
6 เดือน : ลูกเริ่มมองเห็นวัตถุที่มีสีสันได้ จำหน้าคนได้ มองสิ่งของได้ไกล 6 เมตร และการเคลื่อนไหวของตาทั้งสองข้างสามารถควบคุมและประสานงานได้ดี
- ชี้ชวนลูกดูสิ่งที่กำลังเคลื่อนไหว หรือสิ่งของที่มีลวดลายซับซ้อน สีสันสะดุดตา
- ชวนลูกมองกระจก โดยให้ลูกมองตัวเองจากกระจกหรืออุ้มมองภาพสะท้อนของตัวเอง พร้อมบอกชื่ออวัยวะส่วนต่างๆ ให้ลูกได้เรียนรู้เรื่องภาษาไปด้วย