การเรียนรู้ของทารกวัยแรกเกิดถึง 6 เดือน

view 8,401

     9 เดือนที่อยู่ในท้องแม่ จนมาเป็นทารกแรกเกิด เมื่อต้องคลอดออกมาเป็นทารกดูโลก สิ่งสำคัญสำหรับทารกแรกเกิดคือ เขาเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเอง โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5  นั่นคือ ตาดู หูฟัง ลิ้นรับรส จมูกดมกลิ่น และผิวรับสัมผัส  คุณพ่อคุณแม่บางคนเข้าใจผิดว่า เด็กเล็กๆ ที่เอาแต่กินและนอนนั้น คงยังไม่เรียนรู้อะไร จึงไม่ได้ให้สิ่งเร้า (เสียง ภาพ สัมผัส)  กับเด็ก เมื่อขาดสิ่งเร้าทำให้เขาไม่สามารถมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว รวมทั้งไม่สามารถเรียนรู้ได้ จริงๆ แล้วพัฒนาการทางอารมณ์และสติปัญญาของทารกเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา แม้ในช่วงสัปดาห์แรกๆ ของชีวิตหากมีสิ่งกระตุ้นที่ดี เช่นเดียวกับการเติบโตด้านอื่นๆ ซึ่งแสดงว่าร่างกายเติบโตขึ้น เช่น น้ำหนักมากขึ้น หรือส่วนต่างๆ ของร่างกายเริ่มทำงานประสานกันมากขึ้น เป็นต้น

     เพราะฉะนั้น สำหรับลูกวัยแรกเกิด-6 เดือน สิ่งสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ คือไม่ปล่อยให้ลูกนอนเฉยๆ แต่ควรส่งเสริมให้ลูกได้ใช้สัมผัสทุกส่วนบ่อยๆ นั่นคือ มือได้สัมผัสของเล่นที่มีผิวสัมผัสแตกต่างกัน ได้รับการนวดการสัมผัสจากคุณแม่ ได้ฟังเสียงเพลง เสียงพูดคุยด้วยความรักจากผู้ใหญ่  เสียงธรรมชาติต่างๆ ได้มองเห็นสิ่งของที่มีสีสัน รูปทรงต่างๆ เป็นต้น  ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการกระตุ้นสมอง สมองจะส่งกระแสไฟฟ้าผ่านเส้นใยของเซลล์ประสาทที่มีการแตกแขนงอย่างมากมาย ทำให้เกิดการรับรู้ การตอบสนอง และการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะ ยิ่งเด็กได้ลงมือกระทำกับสิ่งต่างๆ รอบตัว ยิ่งมีประสบการณ์มากเท่าใด หรือเร็วเท่าใด สมองจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น เพราะประสบการณ์ที่ได้รับ จะทําให้เกิดการเชื่อมโยงของเซลล์สมอง เกิดการเชื่อมโยงของเส้นใยประสาทสมองมากขึ้น 


https://mjn.enfababy.com:443/%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94%20%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%206%20%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99