บทบาทสมมติ...พัฒนาสมองลูกได้
view 1,423
บทบาทสมมติ...พัฒนาสมองลูกได้
|
|
หลังจากที่เด็กๆ ได้สัมผัสและเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ต่างๆ ในช่วง 2 ปีแรกของชีวิตมาแล้ว ประสบการณ์ที่ดีจะยังฝังอยู่ในความรู้สึกและการรับรู้ของพวกเขา กระทั่งเมื่อก้าวสู่ปีที่ 3พวกเขาจะเปิดเผยสิ่งเหล่านั้นออกมาให้พ่อแม่ได้รับรู้ ผ่าน การเล่นบทบาทสมมติ ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสมมติว่าตัวเองกำลังพูดคุยโทรศัพท์อยู่กับเพื่อนในจินตนาการ การสมมติว่าตุ๊กตาคือ น้องสาว ที่เธอต้องดูแล หรือแม้กระทั่งบอกว่าตนเองเป็นหมอ เป็นแม่ครัว ฯลฯ |
การเล่นบทบาทสมมติจึงเป็นภาพสะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการทำงานของสมองของเด็กในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเรื่องของการจดจำ การเลียนแบบพฤติกรรมของคนใกล้ชิด (การทำงานของเซลล์กระจกเงา หรือ Mirror Neuron)
การเล่นบทบาทสมมติเป็นพื้นฐานของความฉลาดแบบสร้างสรรค์ เด็กจะได้ประโยชน์จากการเล่นประเภทนี้อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการจับตะหลิวผัดข้าวผัด ได้เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมือ ฝึกการใช้สายตา การทอนเงิน เป็นการฝึกคิดเลข การต้อนรับเพื่อนซึ่งเป็นลูกค้าถือเป็นการฝึกการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ได้เรียนรู้บทบาทที่ซับซ้อนมากขึ้น ในขณะเดียวการเล่นบทบาทสมมตินี้เป็นการช่วยให้เด็กได้ผ่อนคลายระบายความรู้สึกบางอย่างออกมาด้วยเช่นกัน
บทบาทของคุณ่พอคุณแม่ต่อการเล่นบทบาทสมมติของลูกคือ ปล่อยให้ลูกเป็นผู้นำการเล่นอย่างอิสระ ร่วมเป็นเพื่อนเล่นกับลูกด้วยก็ยิ่งดี ร่วมพูดคุยกับลูก แล้วคุณแม่จะค้นพบหลายสิ่งหลายอย่าง ไม่เพียงประสบการณ์ ที่เขาพบเจอ แต่ยังรวมถึงความรู้สึกนึกคิดของลูกที่แสดงออกมาให้ได้รับรู้ผ่านการเล่นนี้ด้วย...แล้วคุณพ่อคุณแม่จะแปลกใจกับความคิดของลูกค่ะ