ปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้ลูกอย่างถูกวิธี
view 4,179
ลูกวัย 1 – 3 ขวบนี่แหล่ะค่ะ ที่เราอยากจะให้ฉายาซูเปอร์ซนที่สุด เพราะเขาเริ่มเดินได้แคล่วคล่อง ทำให้เราต้องระมัดระวังมากกว่าตอนเขาคลานอีกนะคะ เพราะฉะนั้นก็ได้เวลาที่ซูเปอร์มัมอย่างเรา จะปฐมพยาบาลเจ้าจอมซนแล้วล่ะค่ะ
ลูกจะปวดบริเวณที่เคล็ดขัดยอก มีรอยฟกช้ำ บวม และเคลื่อนไหวบริเวณที่ปวดลำบาก ถ้าคุณแม่ไม่แน่ใจว่าลูกน้อยเป็นอะไร ในเบื้องต้นก็พยาบาลลูกน้อยเหมือนอาการกระดูกหักได้ค่ะ
เตรียมอุปกรณ์:
1. ผ้าขนหนู
2. ผ้าพันแผล
3. น้ำเย็นหรือน้ำแข็ง
4. สำลี
การปฐมพยาบาล:
1. ค่อยๆ ถอดรองเท้า ถุงเท้า หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่บีบรัดรอบๆ บริเวณที่เคล็ดขัดยอก
2. วางส่วนที่เคล็ดขัดยอกในท่าที่คลายความเจ็บปวดได้ แล้วประคบด้วยผ้าชุบน้ำเย็น หรือผ้าห่อน้ำแข็งประมาณ 15 นาที และควรทำซ้ำทุกๆ 2 – 3 ชั่วโมง
3. ใช้ผ้าพันแผลพันทับแผ่นสำลีหนาๆ รอบบริเวณที่เคล็ดขัดยอกให้กระชับ แต่อย่าให้แน่นเกินไป เมื่อพันเสร็จแล้ว ควรให้ปลายนิ้วก้อยสอดเข้าไปได้ แล้วค่อยพาลูกไปหาหมอค่ะ
Tip: หากบริเวณที่เคล็ดขัดยอกมีอาการบวมอย่างรวดเร็ว และปวดอย่างรุนแรง คุณแม่ต้อง รีบพาลูกไปพบคุณหมอทันทีเลยนะคะ
แผลถลอก เป็นแผลที่มีโอกาสติดเชื้อสูง เราต้องรีบปฐมพยาบาลให้ลูกแบบเร่งด่วน
เตรียมอุปกรณ์:
1. สำลี
2. น้ำยาฆ่าเชื้อ
3. ยาใส่แผลสด
4. ผ้าพันแผล
การปฐมพยาบาล:
1. ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด โดยการเปิดให้น้ำไหลผ่านปากแผล
2. ใช้สำลีชุบน้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดบริเวณรอบๆ แผล แล้วใช้สำลีแห้งเช็ดแผลอีกครั้ง
3. หยอดยาสำหรับแผลสดใส่สำลี นำมาทาที่แผลแล้วปิดด้วยผ้าพันแผลหรือพลาสเตอร์ยา
Tip: ไม่ควรใช้ปากเป่าบาดแผลของลูกนะคะ เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ และอักเสบได้ค่ะ
อาจเกิดจากหนามทิ่ม หรือเสี้ยนตำ แผลชนิดนี้เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคที่ไม่ใช้ออกซิเจน เช่น เชื้อบาดทะยักค่ะ
เตรียมอุปกรณ์:
1. คีม
2. เข็ม
3. น้ำยาฆ่าเชื้อ
การปฐมพยาบาล:
กรณีที่ 1 วัตถุที่ตำผิวหนังของลูกโผล่ออกมาแล้ว
ทำความสะอาดปากคีม แล้วค่อยๆ คีบเสี้ยนหรือหนามออกมาตรงๆ ล้างแผลให้สะอาด ด้วยน้ำ และสบู่
กรณีที่ 2 เสี้ยนหรือหนามยังฝังอยู่ใต้ผิวหนัง
ให้ใช้เข็มสะอาดที่ฆ่าเชื้อแล้วบ่งออก เขี่ยปลายให้โผล่ขึ้น แล้วใช้คีมดึงออกมา หลังจากนั้น ล้างแผลด้วยน้ำและสบู่
กรณีที่ 3 เสี้ยนหรือหนามตำลึกลงไปใต้ผิวหนัง
ถ้าลูกไม่มีอาการเจ็บปวด คุณแม่ก็สามารถปล่อยไว้ได้ค่ะ ไม่ต้องทำอะไร เพราะร่างกายสามารถกำจัดได้เองค่ะ
Tip: ควรพาลูกไปพบคุณหมอทันที เมื่อบริเวณรอบๆ บาดแผลของลูกบวมแดงและปวดนานเกิน 48 ชั่วโมง หรือคุณแม่ไม่สามารถบ่งเสี้ยนหรือหนามออกมาได้ เพราะลูกเจ็บ หรือเสี้ยนมีขนาดใหญ่ เช่น เป็นแก้วหรือโลหะ
เป็นแผลปิดที่มีรอยช้ำ อาจมีอาการบวม แดง เป็นสีม่วง หรือเขียวคล้ำ เพราะเส้นเลือดที่อยู่ใต้ผิวหนังมีอาการฉีกขาด เลือดจึงขังอยู่ภายใน ทำให้ลูกปวด
เตรียมอุปกรณ์:
1. ผ้าขนหนู
2. น้ำเย็นหรือน้ำแข็ง
3. น้ำอุ่น
การปฐมพยาบาล:
1. ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำเย็นจัด หรือนำผ้าห่อน้ำแข็งประคบบริเวณรอยช้ำประมาณครึ่งชั่วโมง
2. เปลี่ยนมาประคบด้วยน้ำอุ่น จะช่วยลดอาการบวมและทุเลาความเจ็บปวดให้ลูกได้
Tip: ถ้าลูกปวดมากจนเคลื่อนไหวอวัยวะที่ปวดไม่ค่อยได้ คุณแม่ควรตรวจดูว่ามีปัญหากระดูกหัก หรือเคล็ดขัดยอกร่วมด้วยหรือเปล่านะคะ
ลูกอาจจะโดนชิ้นส่วนที่แตกหักของของเล่น หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ที่เสื่อมสภาพ
เตรียมอุปกรณ์:
1. ผ้าสะอาด
2. ผ้าพันแผล
3. สำลี
4. น้ำยาฆ่าเชื้อ
5. ยาใส่แผลสด
การปฐมพยาบาล:
1. ล้างแผลลูกด้วยน้ำให้สะอาด
2. ใช้สำลี หรือผ้าสะอาดกดห้ามเลือด
3. ล้างแผลด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง
4. ใช้สำลีชุบน้ำยาฆ่าเชื้อเช็ดบริเวณรอบๆ แผล แล้วใช้สำลีแห้งเช็ดแผลอีกครั้ง
5. หยอดยาสำหรับแผลสดใส่สำลี นำมาทาที่แผลแล้วปิดด้วยผ้าพันแผลหรือพลาสเตอร์ยา
Tip: ถ้าลูกมีอาการผิดปกติหลังจากที่คุณแม่ปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้ว ควรพาลูกไปพบคุณหมอโดยด่วนเลยนะคะ
คราวนี้ ก็ไม่ตกเป็นกังวลแล้วล่ะค่ะ ถ้าเจ้าจอมซนจะซนจนได้แผลเล็ก แผลน้อย เพราะยอดคุณแม่อย่างเราจัดการได้สบายมาก