พัฒนาการเด็กวัย 1 ขวบปีแรก

view 18,803

เจ้าตัวเล็กในวัยครบขวบปีแรก

ก่อนจะก้าวเข้าสู่ขวบปีแรกของเขา เจ้าตัวเล็กของเราเพิ่งเริ่มเดิน เตาะแตะ เวลาหยิบจับอะไรก็ใช้แค่นิ้วโป้งกับนิ้วชี้เท่านั้น และก็จะ เขย่าไปมา ซึ่งก็ดีนะคะเพราะเท่ากับเป็นการออกกำลังกายกล้าม เนื้อของเขาไปในตัวด้วย และถ้าให้เขาเล่นอะไรเงียบๆ เด็กบางคน จะเล่นอยู่ได้ไม่เกิน 2-5 นาทีเท่านั้น เพราะวัยนี้เขาไม่ชอบอะไร เงียบๆ เลยค่ะ เพราะฉะนั้นถ้าจะหาเกมหรือของเล่นให้เขาเล่นให้ เลือกแบบที่มีเสียงกุ๊งกิ๊งเอาไว้นะคะ เขาจะชอบมาก

ของเล่นน่าสนุกสำหรับเขา
ช่วงนี้เขายังใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้หยิบจับของเล่นเป็น ส่วนใหญ่ค่ะ และก็ไม่ชอบเล่นอะไรเงียบๆเพราะไม่ สนุกเลยสำหรับเขา ถึงเล่นได้ก็จะเล่นแค่แป๊ปเดียว ไม่เกิน 2-5 นาทีก็เบื่อแล้วค่ะ

เดือนนี้เขาจะรู้สึกสนุกกับการดึง กด ผลัก ขว้างปา ถ้าคุณแม่อย่างเราจะเลือกของเล่นให้เขาเล่นสัก ชิ้นล่ะก็ แนะนำให้เลือกแบบเกมหยอดตามหลุมที่ เป็นตัวอักษร รูปทรงเรขาคณิต ให้เขาเล่นนะคะ เขาจะเล่นได้นานเชียวค่ะเพราะพอหยอดจนเต็ม ก็จะเทออกมาเล่นใหม่ แล้วเวลาที่หยิบแล้วหยอด ลงหลุมได้สำเร็จเขาก็จะตื่นเต้นดีใจมีความสุขมาก ด้วยค่ะ

จับเขานอนหลับแบบง่ายๆ
เดือนนี้เขาจะไม่นอนหลับยาวๆ ให้คุณแม่คุณพ่ออย่างเราหนีไปทำอะไรได้มากเท่าไหร่ เพราะ ส่วนใหญ่เป็นแนวของีบแป๊ปนึงมากกว่าค่ะ เพราะฉะนั้นเราต้องพยายามทำให้เจ้าตัวเล็กนอน เป็นเวลาทำซ้ำๆ ทุกวันด้วยเวลาเดิมๆ นะคะ อาจเริ่มจากพอได้เวลาใกล้นอน ก็พาเขาไปอาบน้ำ อุ่นๆ หรือเปิดเพลงกล่อมนอนให้ฟัง เขาจะได้รู้สึกสบายตัวจนอยากหลับให้ยาวขึ้นค่ะ เราอาจแบ่ง หน้าที่กันทำ เช่น คุณแม่อาบน้ำให้เจ้าตัวเล็ก ส่วนคุณพ่อก็คอยอ่านหนังสือหรือร้องเพลงกล่อม ให้ลูกฟัง เพราะเท่ากับเราทั้งคู่ได้ใช้เวลาที่แสนอบอุ่นกับลูกด้วยกันก่อนเขาจะหลับไป และเขาก็ จะเริ่มรู้เวลานอนของตัวเองแล้ว อีกหน่อยก็จะได้นอนเป็นเวลาและยาวขึ้น คุณพ่อคุณแม่ก็จะได้ มีเวลาพักบ้างไงคะ

พัฒนาการที่สำคัญในตอนนี้
* เขย่งเดินก้าวแรกได้แล้ว : กิจวัตรส่วนใหญ่ของเขาก็คงหนีไม่พ้นการเดินเตาะแตะไปมา แต่ที่จะเซอร์ไพร์ซเราได้ก็คือ ขวบปีแรกนี้เขาจะเริ่มก้าวเดินด้วยตัวเองเป็นก้าวแรกในชีวิตของ เขาเลยนะคะ (แต่ถ้าพ้นเดือนนี้ไปแล้วก็ยังไม่เห็นเจ้าตัวเล็กก้าวเดินสักครั้งล่ะก็ อดใจรออีก หน่อยนะคะ เพราะเด็กบางคนอาจต้องใช้เวลาอีกหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือนกว่าจะเดินได้ค่ะ เขาจะเริ่มเดินด้วยการเขย่งปลายเท้าแบบตุปัดตะเป๋ไปมาก่อน แนะนำว่าให้คุณพ่อคุณแม่ เตรียมกล้องให้พร้อมอยู่เสมอนะคะ เพราะจะได้เก็บความประทับใจของการเดินก้าวแรกของ เจ้าตัวเล็กไว้เป็นภาพที่ระลึก

* ใช้ช้อนกินข้าว : เดือนนี้เปลี่ยนจากที่เคยป้อนข้าวให้เขา ลองหาช้อนเล็กๆ ที่เขาถือถนัด ให้ใช้เวลากินข้าว เพราะวิธีนี้จะช่วยให้เจ้าตัวเล็กได้ฝึกการใช้สายตากับมือให้ประสานกัน แล้วยัง ช่วยให้เขาดูแลตัวเองได้ และช่วยเพิ่มความสนุกในเวลากินข้าวให้เขามากขึ้นด้วยค่ะ เรียกว่างาน นี้มีแต่คุ้มกับคุ้มค่ะ

* พูดเป็นคำสั้นๆ ได้ : ตอนนี้คำที่เจ้าตัวเล็กพูดได้ติดปากที่สุดก็คือ “แม่, พ่อ, ปาป๊า, มาม๊า” พูดชัดบ้างไม่ชัดบ้างเสียงสูงๆ ต่ำๆ ฟังแล้วขำๆ แต่ได้ฟังเขาเรียกเราทีไรก็ชื่นใจยิ้มไม่หุบแล้ว ล่ะค่ะ แต่ถ้าสอนเขาพูดคำสั้นๆ เขาก็จะพยายามพูดให้ได้ตามเรา ถ้าบ่อยๆ เข้าเขาก็จะเริ่มจำคำ นั้นได้เอง

นอกจากนี้เจ้าตัวเล็กของเรายังสามารถทำตามคำสั่งง่ายๆ ของเราได้ เช่น หยิบถ้วยให้แม่หน่อย จ๊ะลูก แล้วเราก็ชี้ไปที่ถ้วยใบนั้น เขาก็จะค่อยๆ เรียนรู้ว่าสิ่งที่เห็นนั้นเรียกว่าถ้วย ก่อนเขาจะตอบ ว่าใช่หรือไม่ เราก็อาจฝึกโดยใช้ภาษากายประกอบคำพูด เช่น พยักหน้าเมื่อบอกว่าใช่ ส่ายหน้า และบอกว่าไม่ใช่ ทำให้เขาพูด เขาจะเรียนรู้และเรียนแบบตามเมื่อเราถามเขาในครั้งถัดๆ ไป

และเพราะเจ้าตัวเล็กกำลังอยู่ในช่วงวัยของการเรียนรู้ ช่วงนี้เห็นอะไรรอบตัวก็พูดออกมาเป็นคำ สั้นๆ นะคะ เขาจะค่อยๆ เรียนรู้และจดจำคำศัพท์ใหม่ๆ ได้เองในแต่ละวัน อย่างตัวเลข ชื่อผลไม้ ชื่อสี ชื่อสิ่งของ หรือแม้แต่จะสอนมารยาทง่ายๆ ให้เขา เช่น การให้เขายกมือสวัสดี หรือกล่าว คำว่าขอบคุณ แล้วเราเองก็ทำให้เขาเห็นด้วยตัวเองบ่อยๆ เจ้าตัวเล็กของเราเขาก็จะค่อยๆ เพิ่ม ความเข้าใจได้เองค่ะ หรือเวลาเลือกเสื้อผ้าให้เขาใส่ อาจถามเขาด้วยว่า วันนี้หนูอยากใส่เสื้อ สีน้ำเงินหรือสีเหลืองคะ แล้วดูสิว่าเขาพูดและชี้ถูกมั้ย หรืออาจหาของเล่นที่จับคู่สี จับคู่ของให้ เขาเล่นเรื่อยๆ เขาจะค่อยๆ เรียนรู้ได้เองค่ะ คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตว่า เด็กในวัยนี้สามารถ เรียนรู้ได้ในระดับใด และคอยส่งเสริมพัฒนาการของเขาทีละน้อย อย่าบังคับหรือเขา หรือเพิ่ม เติมมากจนเกินไปนะคะ

https://mjn.enfababy.com:443/%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2/%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2%201%20%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81