พูดคุยสื่อภาษา ช่วยพัฒนาความฉลาดของเด็ก
view 3,390
วารสาร "The Journal Cognitive Psychology" เดือนพฤศจิกายน 2002 ได้ตีพิมพ์งานวิจัยของ Janellen Huttenlocher ศาสตราจารย์สาขาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยชิคาโก และคณะ ที่พบว่า "หากพ่อแม่ และคุณครูพูดคุยกับเด็กด้วยประโยคที่มีความซับซ้อนมากเท่าไร เด็กก็จะมีความสามารถในการเข้าใจ และใช้ประโยคที่มีรูปแบบซับซ้อนในการสื่อสารมากขึ้นเท่านั้น"
ผลการวิจัยระบุว่า "เด็กในชั้นเรียนที่คุณครูพูดคุยด้วย ประโยคที่มีความซับซ้อน จะพัฒนาความพร้อมในการสื่อสารด้วยประโยคซับซ้อนของตนมากขึ้นถึง 2 เท่า เมื่อเทียบกับเด็กในชั้นเรียนที่คุณครูไม่ค่อยได้ใช้ประโยคเหล่านั้นด้วย บ่อยครั้งนัก"
คณะวิจัยยังได้อธิบายรายละเอียดความแตกต่างอันน่าสนใจยิ่งของระดับความเข้า ใจและรูปแบบประโยคที่เด็กวัย 3 ขวบและ 4 ขวบใช้ในการสนทนา โดยความต่างของสิ่งที่ค้นพบนั้นขึ้นอยู่กับวิธีที่พ่อแม่และครูพูดคุยกับ เด็กเป็นสำคัญ
แต่แม้ว่าคณะนักวิจัยจะค้นพบว่าระดับความซับซ้อนในการใช้ภาษาของเด็ก จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับระดับความซับซ้อนในการใช้ภาษาของพ่อแม่ แต่ก็ยังมีคำถามต่อว่า นี่เป็นผลจากปัจจัยทางพันธุกรรมหรือการเลี้ยงดูกันแน่เพื่อตอบคำถามนี้ คณะนักวิจัยจึงศึกษาเด็กๆ ในโรงเรียนอนุบาล เพื่อหาคำตอบว่าการพูดของครูในชั้นเรียนส่งผลต่อพัฒนาการทางภาษาของเด็กๆ เหล่านั้นอย่างไรบ้าง
รูปแบบที่นักวิจัยใช้ศึกษากับกลุ่มพ่อแม่ คือการบันทึกเทปเสียงสนทนาโต้ตอบระหว่างพ่อแม่กับเด็ก ส่วนการศึกษากับเด็กโรงเรียนอนุบาลนั้น คณะนักวิจัยทำการทดสอบกับเด็ก 305 คน จากโรงเรียนอนุบาลจำนวน 17 แห่งในเมืองชิคาโก 1 ใน 3 ของจำนวนนี้จัดอยู่ในกลุ่มที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้สูง อีก 1 ใน 3 มาจากครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ และอีก 1 ใน 3 ที่เหลือมาจากครอบครัวที่มีลักษณะคละกัน
นักวิจัยจะให้เด็กๆ ทำแบบทดสอบเพื่อวัดระดับความเข้าใจทางภาษาในตอนเริ่มต้นภาคการศึกษา และตอนสิ้นสุดภาคการศึกษา และจะคอยสังเกตรวมทั้งบันทึกเสียงพูดของคุณครูในชั้นเรียนตลอดช่วงภาคการ ศึกษานั้น
ทีมวิจัยนี้พบว่าในห้องเรียนที่คุณครูพูดคุยกับเด็กด้วยประโยคที่มีความ ละเอียดซับซ้อนเป็นประจำ คืออัตราร้อยละ 11 -32 ของประโยคพูดทั้งหมด เด็กๆ จะมีความสามารถในการใช้และเข้าใจภาษาพูดที่มีความซับซ้อนพัฒนาก้าวหน้าขึ้น มากกว่าถึง 2 เท่า เมื่อเทียบกับเด็กในห้องเรียน ซึ่งคุณครูพูดคุยด้วยภาษาที่มีความซับซ้อนในอัตราส่วนที่น้อยกว่า
การค้นพบยิ่งมีน้ำหนักมากขึ้นไปอีก เมื่อปัจจัยที่สันนิษฐานกันว่าน่าจะเป็นผลบวกต่อพัฒนาการทางภาษาของเด็ก เช่น สถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว ก็พบว่า "ถึงแม้ว่าเด็กๆ จากครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่ำ และได้ผลจากการทดสอบตอนเริ่มต้นว่ามีทักษะในการเรียบเรียงประโยคต่ำ แต่หากคุณครูพูดคุยกับเด็กๆ ด้วยประโยคซับซ้อนเป็นประจำ ก็สามารถมีพัฒนาการทางการใช้ภาษาก้าวหน้าขึ้นจนทัดเทียม หรืออาจถึงขั้นล้ำหน้าเด็กๆ จากครอบครัวฐานะดีได้อีกด้วย"