คุณค่าของดนตรีกับสมองของเจ้าตัวเล็ก
view 3,334
เจ้าตัวเล็กในวัยแรกเกิด – 6 เดือนด้วย…
Symphonies, Play and Language ดีอย่างไรกับเจ้าตัวเล็กนะ คุณแม่อย่างเราอาจจะนึกว่าตัวเล็กแค่นี้ลูกคงไม่ต้องการอะไรมากไปกว่าแค่กินนมแล้วนอน แต่จริงๆ แล้วเบบี๋ตัวน้อยของเรายังต้องการการดูแลเขาอย่างใกล้ชิดเช่นกันค่ะ ซึ่ง ดนตรี การเล่น และสื่อสารพูดคุยกัน จะช่วยให้เขามีพัฒนาการที่ดีทั้งร่างกายและสมองอย่างแน่นอนค่ะ
มีเรื่องเล่าที่น่าสนใจมากเกี่ยวกับคำๆ นี้มาให้บอกกันค่ะ คือคนที่คิดค้น คำว่า Mozart Effect ขึ้นมาก็คือดอน แคมป์เบล นักเขียนและนักแต่งเพลง เขาให้คำหมายของคำนี้เอาไว้ว่า “คืออิทธิพลของเสียง สีสันและจังหวะของดนตรี ไม่ว่าจะเป็นโมสาร์ต เพลงสวดในโบสถ์ แจ๊ส นิวเอจ ละติน ป๊อป หรือแม้แต่ร็อคทุกเสียงเพลงมีผลต่อร่างกาย จิตใจและความคิดของมนุษย์ทั้งนั้น”
แต่อาจจะเป็นเพราะความหมายของคำคำนี้อาจจะกว้างไปสักหน่อยนะคะ เลยทำให้มีนัก วิทยาศาตร์กลุ่มหนึ่งสงสัยต่อว่า ดนตรีจะมีผลกับสติปัญญาของคนเราซึ่งเป็นการทำงานของ สมองได้จริงรึเปล่า เช่น Dr.Gordon Shaw นักฟิสิกส์ที่สนใจเรื่องการนำไฟฟ้าของเซลล์สมอง เขาก็เลยหยิบเรื่องนี้ขึ้นมาศึกษาและค้นพบว่าคลื่นเสียงของดนตรีบางชนิด มีผลต่อการนำ สัญญาณไฟฟ้าของสมองจริงๆ ค่ะ หลังจากนั้นเขาก็เลยร่วมกับ Dr.Frances Rauscher ที่เป็นนักจิตวิทยาช่วยกันศึกษาว่าดนตีมีผลต่อการทำงานที่ซับซ้อนของสมองคนเราแค่ไหน แล้วเขาก็เลือกใช้เพลงเปียโน โซนาต้า หมายเลข เค.448 ของอะมาดิอุส วูลฟ์กัง โมสาร์ตมาเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญในการทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ (SpatialTemporal) ด้วยเหตุผลที่ว่า เพลงนี้เป็นเพลงที่มีความสดใส ร่าเริง มีความซับซ้อนของดนตรีที่พอเหมาะกันดี และโครงสร้างทุกอย่างของเพลงนี้ก็ลงตัวมากด้วยค่ะ แล้วเขาก็ให้เด็กๆ ลองฟังเพลงนี้เป็นเวลา 10 นาที ปรากฎว่าคะแนนด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กๆ ที่เข้ารับการทดลองมีคะแนนสูงขึ้น ถึงแม้จะเป็นการเพิ่มขึ้นแค่ชั่วคราวก็เถอะนะคะ แต่ผลการวิจัยครั้งนี้ก็ทำให้ใครต่อใครรับรู้แล้วว่าดนตรี คลาสสิกมีคุณค่าต่อการพัฒนาสมองมากแค่ไหน รู้แล้วอย่าอยู่เฉยนะคะ ว่างๆ ก็เปิดเพลงคลาสสิกให้ลูกฟังได้เลยค่ะ
ดนตรีกับเซลล์กระจกเงา
ก็ในเมื่อดนตรีทำให้เกิดสิ่งดีๆ ตามมามากมาย แค่นั่งฟังเฉยๆ ยังได้ความสุขอย่างประหลาดจากความเพราะของเพลง หรือถ้าคิดตามอีกหน่อยก็ได้ทั้งจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ด้วยค่ะ ทีนี้นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งเขาเลยพยายามค้นคว้าให้ลึกลงไปอีกว่า ดนตรีทำให้เกิดประโยชน์อะไรมากกว่านั้นอีกไหม ซึ่งเขาก็ได้พบว่า เซลล์กระจกเงา (Mirror Neuron) ที่อยู่ในสมองของคนเรา ซึ่งเซลล์นี้จะทำหน้าที่ลอกเลียนแบบสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่เราพบเห็นและซึมซับเข้าไปเป็นอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรมของคนเรา ถ้าเราเจอแต่สิ่งที่ดีๆ สมองก็จะแปรเปลี่ยนเป็นสิ่งดีๆ แต่ถ้าเราเจออะไรแย่ๆ มานะคะ ผลที่ได้ก็จะตรงกันข้ามเลย เพราะฉะนั้นการที่ ราได้ฟังดนตรีเพราะๆ ดีๆ ก็จะทำใหเซลล์กระจกเงาซึมซับแต่สิ่งดีๆ เก็บเอาไว้ ทำให้เรารู้สึกดีทุกครั้งที่ได้ยินเสียงเพลงนั้น และทำให้เราทำแต่สิ่งดีๆ และตามมาด้วยความคิดที่ดีๆ ด้วยนะคะ เพราะฉะนั้นคุณแม่อย่างเราอยากให้ลูกเป็นเด็กดีก็ต้องทำให้เซลล์กระจกเงาของเรากับลูก ซึมซับแต่ความอ่อนโยน มีสุนทรียภาพและจินตนาการที่ดีด้วยการเลือกฟังแต่เพลงเพราะๆ เมโลดี้สวยๆ เป็นเพลงที่ฟังกี่ครั้งก็ละเมียดละไม และมีความหมายดีๆ ด้วยค่ะ