นมแม่กับการพัฒนาสมองซีกขวาลูกน้อย
view 6,889
นมแม่กับการพัฒนาสมองซีกขวาลูกน้อย
ออกซิโตซิน (oxytocin) เป็นฮอร์โมนแห่งความรัก ที่ทำให้แม่อยากโอบกอดลูกมากขึ้น เป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้มดลูกหดตัวดีหลังคลอด และช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำนม ( milk ejection reflex) แต่อีกบทบาทหนึ่งของฮออร์โมนตัวนี้ที่เราไม่คอยได้พูดถึงกันคือ เรื่องของการพัฒนาสมองซีกขวาของลูก
พญ.ศิริพัฒนา สิริธนารัตนกุล กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญนมแม่ได้เขียนถึงเรื่องนี้โดยอ้างอิงงานวิจัยของสถาบัน Karolinska ประเทศสวีเดน เรื่องผลของฮอร์โมนออกซิโตซินต่อแม่และลูก ที่พบว่า ออกซิโตซินเกี่ยวข้องกับระบบประสาทเคมี (Neurochemistry) ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมไปจนถึงบุคลิกภาพ
โดยผลวิจัยชี้ว่า แม่ที่ให้ลูกดูดนมแม่และมีระดับออกซิโตซินสูงนั้น จะใช้เวลาอยู่กับลูกมากขึ้น เอามือลูบสัมผัสตัวลูกมากกว่าแค่ให้ลูกกินนมแม่ และอดทนต่อความเบื่อหน่ายได้ดีขึ้น เนื่องจากฮอร์โมนออกซิโตซินนี้ทำให้สมองซีกขวา (เกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก) ของแม่ทำงานโดดเด่นกว่าสมองซีกซ้าย (เกี่ยวกับเหตุและผล) ในช่วงหลังคลอดและตลอดการให้นมแม่
ซึ่งอารมณ์ความรู้สึกเหล่านี้สามารถส่งผ่านไปสู่ลูก ให้มีความสอดคล้องและเป็นไปในทางเดียวกันได้ (Affective synchrony) เหมือนมีการสื่อสารโดยตรงระหว่างสมองซีกขวาของแม่ไปยังสมองซีกขวาข¬องลูกนั่นเอง ซึ่งเป็นผลดีต่อระบบการปรับตัวของลูก (ที่ยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่) ที่จะได้รับการช่วยเหลือให้ปรับตัวได้ดีขึ้นโดยระบบของแม่ที่พัฒนาดีแล้วcจึงทำให้ทารกสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นได้
ดังนั้น ยิ่งแม่ให้ลูกกินนมแม่มากเท่าไร ก็เท่ากับช่วยส่งเสริมให้ลูกมีความฉลาดทางอารมณ์มากขึ้น และยิ่งดูดนมแม่ ออกซิโตซินยิ่งหลั่ง สมองซีกขวาของลูกก็ได้รับการพัฒนามากขึ้นด้วย