เล่นง่ายๆ ทั้งฉลาดทั้งสนุก

view 5,254

Icon_play.jpg

photo_120.gif      มีนักวิจัยชื่อ เครก เรเมย์ (Craig Ramey) จากมหาวิทยาลัยอลาบามา บอกว่า ของเล่นง่ายๆ อย่าง บล็อกไม้สี่เหลี่ยม ลูกปัด หรือแค่เล่นจ๊ะเอ๋ กับลูก เป็นการเล่นที่ดีที่สุดในการกระตุ้นพัฒนาการของกล้ามเนื้อภาษา และความฉลาดได้นะคะ เด็กที่ไม่ได้เล่นหรือไม่มีใครเล่นด้วย จะทำให้ สูญเสียความสามารถในการพัฒนาตัวเอง และการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ในช่วง วิกฤตของพัฒนาการด้านต่างๆ ได้ค่ะ เพราะถ้าเด็กไม่ได้เล่นก็เท่ากับ ไม่ได้รับการกระตุ้นในการสร้างเส้นใยประสาทและเครือข่ายเส้นใย ประสาทให้ทำหน้าที่พัฒนาความสามารถในด้านนั้นๆ ได้อย่างสมบูรณ์

ลูกชอบเล่นอะไร ตอนไหน
     เด็กเล็กๆ จะเริ่มต้นเล่นแบบง่ายๆ ที่เกิดจากความสามารถและความสนใจของเขา พอโตขึ้นเริ่ม จาก 6 เดือนจนถึง 1-2 ขวบ เขาก็จะเป็นเด็กที่พร้อมและมีความสามารถทางพัฒนาการมากขึ้น คือ เจ้าตัวเล็กจะพยุงตัวขึ้นยืนได้แล้วเริ่มเกาะราว เริ่มขยับก้าวเกิน เริ่มสังเกตแล้วว่าเอ๊ะของเล่น หายไปไหนนะ เริ่มสนใจสำรวจรอบตัวด้วยการใช้นิ้วใส่ในช่องต่างๆ หยิบของใส่กล่อง รู้จักเลียน แบบเสียง เลียนแบบท่าทาง การเล่นของเจ้าตัวเล็กในวัยนี้จะเริ่มมีเรื่องราวเป็นจุดหมายมากขึ้น รูปแบบการเล่นของเด็กก็เลยซับซ้อนขึ้น เรามาดูสิคะว่าเด็กแต่ละช่วงอายุจะมีการเล่นแบบไหนบ้าง

table_f007.gif

Do you know?
     ยอดคุณแม่รู้ไหมคะว่า เด็กอายุแรกเกิด – 1 ขวบ เป็นช่วงเวลาพิเศษของการพัฒนาการทาง สมองที่จะได้รับการพัฒนาได้สูงที่สุด และมีการเพิ่มจุดเชื่อมต่อในสมองมากที่สุดด้วยค่ะ สมองของเจ้าตัวเล็กในช่วงนี้จะเติบโตเร็วกว่าชีวิตช่วงไหนๆ เลยนะคะ เพราะฉะนั้นการเล่นกับลูกให้ เหมาะสมกับวัยในช่วงนี้ก็เท่ากับเป็นการกระตุ้นสมองและระบบประสาทเป็นการสร้างประสบการณ์ให้ลูก การย้ำบ่อยๆ จะทำให้ลูกเกิดประสบการณ์ซ้ำๆ วงจรสมองก็จะได้รับข้อมูลนั้นบ่อยๆ ผลที่ตามมาก็คือจะกลายเป็นความทรงจำติดตัวเขาไปจนโตและไม่ลืมด้วยค่ะ

พ่อแม่ VS. เล่นอะไรกับลูกได้
     ชวนคุณพ่อคุณแม่มาเล่นกับลูกกันดีกว่า แต่เล่นครั้งนี้มีประโยชน์แอบซ่อนอยู่ด้วยค่ะ เริ่มต้นจาก เล่นเพื่อพัฒนาการเคลื่อนไหวของลูก

พ่อแม่เล่นยังไงดี : กลิ้งของเล่นที่เคลื่อนที่ได้ จะได้ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อมัดใหญ่ของลูกได้ อย่างลูกบอลผ้าหรือพลาสติก ตุ๊กตาไขลานหรือของเล่นทรงกระบอกกลิ้งไปกลิ้งมา หรือไม่ อย่างนั้นคุณแม่อย่างเราก็อาจจะช่วยให้ลูกเกาะยืนด้วยการหาเก้าอี้หรือโต๊ะเตี้ยๆ ที่แข็งแรงให้ เกาะ แล้วคอยตบมือให้กำลังใจเวลาเขาเดินแข่งกับพ่อแม่ หรือเปิดเพลงจังหวะสนุกๆ ให้ลูกโยกตัวตาม หรือตบมือตาม แล้วค่อยกระตุ้นกล้ามเนื้อมัดเล็กด้วยการให้เล่นต่อบล็อกผ้าหรือบล็อกไม้ ที่ไม่ใหญ่จนเกินไป หรือเล่นเปิด-ปิดกล่อง หรือเอาของเล่นใส่กล่อง เล่นหยอดเหรียญ เล่นซ่อน ของ หรือหาของ หลายๆ อย่างที่ชวนเขาเล่นจะช่วยให้เจ้าตัวเล็กของเราได้ใช้มือ-นิ้วมือได้ดีขึ้น ด้วยค่ะ

เล่นเพื่อพัฒนาภาษาให้กับลูก
พ่อแม่เล่นยังไงดี : ว่างๆ ก็คุยหยอกล้อ เช่น จ๊ะจ๋า ลูกจะได้หัดเลียนแบบเสียงที่ง่ายๆ พูดซ้ำๆ กันได้ของเรา ก่อนคุยกับลูก คุณแม่อย่างเราก็แค่อุ้มลูกไว้ใกล้ๆ หน้าแล้วขยับปากช้าๆ ให้ลูกดู เป็นตัวอย่างออกเสียงชัดๆ ซ้ำๆ ให้ลูกได้ยินบ่อยๆ และค่อยๆ หัดพูดทีละพยางค์ เจ้าตัวเล็กจะได้ ไม่สับสน อย่างมำ มำ แล้วค่อยเพิ่มเป็นสองคำที่คล้องจองกันง่ายๆ หรืออุ้มไปดูวิวแล้วชี้ให้ลูก ดูโน่นนี่รอบตัวบ่อยๆแล้วเรียกชื่อให้ฟัง หรือใช้น้ำเสียงที่ตื่นเต้นเร้าใจสักหน่อยก็ได้นะคะ รวมทั้ง เล่านิทานกล่อมนอนให้ฟังเจ้าตัวเล็กของเราจะได้พัฒนาความจำและมีสมาธิมากขึ้น

เล่นเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
พ่อแม่เล่นยังไงดี : ปล่อยให้เจ้าตัวเล็กสำรวจสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างอิสระ คุณแม่อย่างเรา ก็เรียกชื่อสิ่งต่างๆ ให้เขารู้จักบ่อยๆ เด็กจะค่อยๆ ซึมซับข้อมูลต่างๆ เก็บไว้ในสมองได้เอง และ จะใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานไว้คอยเทียบเคียงกับประสบการณ์ใหม่ที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ซับซ้อนขึ้นไปตามวัยของเขานั่นเองค่ะ

     คุณพ่อคุณแม่อย่างเราอาจอ่านหนังสือให้ลูกฟัง เล่นดนตรีง่ายๆ ให้ฟัง หรือเปิดเพลงคลาสสิก ให้ฟัง แขวนโมบายสีดำขาวไว้ข้างเตียง ติดกระจกในมุมที่ลูกมองเห็น ติดภาพสีขาว-ดำผสมกับ สีสันสดใสข้างเตียงเล่นเกมจ๊ะเอ๋ รู้ไหมคะว่าเวลาที่หน้าของพ่อแม่หายไปแล้วจู่ๆ กลับมาให้ลูก เห็นใหม่อีกครั้ง จะทำให้ลูกประหลาดใจ สนุกสนาน ลูกจะเกิดความคิดเชื่อมโยง และคาดการณ์ ว่าจะเกิดอะไรต่อมา นอกจากนั้นเราควรหาลูกบอลหรือของเล่นเคลื่อนที่ให้ลูกขยับตาม ของเล่น ที่หยิบโยนได้ แต่เวลาเล่นกับลูกต้องระวังหน่อยนะคะ อย่างพวกช่องปลั๊กไฟ เพราะเป็นของ เล่นอันตรายที่ดึงดูดใจที่สุดชิ้นหนึ่งของเด็กวัยนี้เลยค่ะ เพราะเด็กกำลังอยู่ในวัยที่สนใจการ ใช้นิ้วจิ้มตามช่องตามรูต่างๆ ถ้าเผลออาจจะทำให้เกิดอันตรายได้ง่ายมากค่ะ

https://mjn.enfababy.com:443/%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%86%20%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%89%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%81