ซนหรือสมาธิสั้น?
view 3,978
ซนหรือสมาธิสั้น?
ปัจจุบันมีการพูดถึง “โรคสมาธิสั้น” กันมาก จนทำให้คุณพ่อคุณแม่เกิดความกังวลว่าลูกน้อยจะเข้าข่ายนั้น แต่ที่อยากเน้นย้ำคุณพ่อคุณแม่ คือ โรคสมาธิสั้นของเด็กนั้นเกิดจากความผิดปกติบางอย่างของสารเคมีในสมอง แต่ที่เด็กยุคนี้เป็นกันมากนั้น ส่วนใหญ่จะเป็น “ภาวะสมาธิสั้น” หรือ “สมาธิสั้นเทียม” มากกว่า ซึ่งเกิดจากการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมตั้งแต่เล็ก โดยเด็กมักมีอาการดังนี้
*• ทำอะไรได้ไม่นานก็เลิก
*• ไม่สามารถจดจ่อกับงาน หรือของตรงหน้าได้นานเพียงพอ
*• ใจลอยบ่อย
*• ถ้าเป็นเด็กเล็กก็จะเล่นของเล่นแต่ละชิ้นในช่วงสั้นๆ แล้วเปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ
*• ถ้าเป็นเด็กโตจะไม่สามารถตั้งใจทำการบ้านจนเสร็จ มักจะวอกแวก ไปทำสิ่งอื่น
*• มักซุกซน ไม่อยู่นิ่งตลอดเวลา
*• ทำอะไรค่อนข้างรุนแรง
*• ไม่อดทนต่อการรอคอย หรือกฎระเบียบวินัย
*อย่างไรก็ตาม เด็กทุกคนอาจแสดงพฤติกรรมเหล่านี้ได้เป็นครั้งคราว (เด็กวัยอนุบาลนั้นจะมีสมาธิจดจ่อได้นานประมาณ 10-15 นาที แล้วก็ไปสนใจอย่างอื่น) แต่เด็กที่เข้าข่ายสมาธิสั้นจะมีพฤติกรรมเหล่านี้เกือบตลอดเวลา หากดูแล้วลูกมีอาการอย่างนี้อย่างน้อย 6 เดือน อาจต้องไปขอคำปรึกษาจากแพทย์ แต่หากลูกยังไม่ได้มีอาการนี้ตลอดเวลา เขาอาจแค่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมาธิสั้น ซึ่งภาวะนี้สามารถรักษาให้หายได้ เพียงแต่คุณพ่อคุณแม่ได้ดูแล และจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เขามีความสนใจ มีสมาธิที่จดจ่อกับเรื่องตรงหน้า จะช่วยให้กระบวนการเรียนรู้ของเขาเกิดความต่อเนื่อง และต่อยอดไปสู่พัฒนาการด้านอื่นๆ