พบการเล่นง่ายๆ ใกล้ตัว ที่ช่วยส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ของลูกน้อย

view 2,037

 

เล่นง่ายๆ เพื่อการจดจ่อ จดจำ ทำได้

Kru Pob2.JPG

     เมื่อพูดถึงการส่งเสริมสมาธิ ความจำ และการคิดวิเคราะห์ให้ลูกน้อย คุณแม่คงคิดถึงกิจกรรมต่างๆ ที่จะมาช่วยส่งเสริมเรื่องเหล่านี้ เชื่อไหมคะว่ากิจวัตรประจำวันภายในบ้านหรืองานบ้าน เป็นกิจกรรมชั้นดีที่จะช่วยให้ลูกมีกระบวนการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ ซึ่ง ครูพบ-เกียรติยง ประวีณวรกุล นักจิตวิทยาคลินิก และผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก ได้ช่วยชี้แนะถึงคุณค่าของกิจกรรมเหล่านั้น

     “งานบ้านทุกอย่างเป็นการฝึกให้เด็กใช้กล้ามเนื้อมือประสานกับกล้ามเนื้อตาอย่างสัมพันธ์กัน การที่เด็กได้ลงมือทำของจริง จะเป็นการเรียนรู้แบบสี่มิติ ซึ่งส่งผลดีกับเขามากกว่าเรียนรู้จากหนังสือมากมายเลย จะทำให้เด็กเกิดความสนใจ สนุก จดจำ และจดจ่อ แต่ทั้งนี้ต้องพ่อแม่ต้องจัดงานบ้านให้เหมาะสมกับความสามารถของเด็ก และไม่ได้เอาจริงเอาจังกับผล ถ้างานนั้นเกินความสามารถ เด็กจะเกิดความเครียด และถ้าเด็กมีเป้าหมายแต่ขาดความมุ่งมั่น ก็ไม่สามารถไปถึงจุดหมายปลายทางได้ ดังนั้นเมื่อไหร่ที่ลูกมีความต้องการ พ่อแม่ต้องสร้างอุปสรรคเพื่อให้เขาพยายามดำรงความมุ่งมั่นนั้นเอาไว้ ซึ่งต้องสร้างอุปสรรคในระดับที่เด็กรับมือไหว เขาก็จะเรียนรู้ว่าโลกนี้ไม่มีอะไรที่จะต้องกลัวว่าจะทำไม่ได้ เมื่อฉันพยายาม”

กิจกรรมเพื่อการจดจ่อ จดจำ ทำได้ ที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำร่วมกับลูกได้ เช่น

  • ให้ลูกช่วยทำสวน งานนี้เป็นกิจกรรมที่เด็กๆ ชอบ เพราะได้สัมผัสกับพื้นผิวที่แตกต่างกันของดิน ทราย และน้ำ โดยเฉพาะน้ำซึ่งมีรูปร่างไม่คงที่ เด็กชอบที่จะเรียนรู้อย่างยิ่งในการเท การรด การราด การเอาน้ำใส่ขวดต่างๆ เพื่อดูการไหลของมัน
  • ชวนลูกเจียวไข่ โดยการสอนให้ลูกหยิบไข่ ตีไข่ และเมื่อคุณแม่เจียวไข่เสร็จ ก็ฝึกให้ลูกหยิบช้อนส้อม หรือราดซอสเอง ซึ่งกิจกรรมนี้เด็กจะได้รู้วิธีการทำไข่เจียว ซึ่งจะได้ทั้งความภูมิใจ ความสนุก ได้ความรู้ในเรื่องจำนวน ได้ลองผิดลองถูก ได้ใช้กล้ามเนื้อมือ ได้เห็นกระบวนการแบบสี่มิติมากกว่าเรียนรู้จากรูปในหนังสือ และสำคัญที่สุดคือได้มีสัมพันธภาพร่วมกับแม่
  • ให้ลูกช่วยผู้ใหญ่ถือของ กิจกรรมนี้จะฝึกให้เด็กเป็นคนมีน้ำใจ แต่การที่เด็กจะมีน้ำใจได้นั้นต้องมีการชื่นชม ถ้าพ่อแม่ไม่ชื่นชม พฤติกรรมนี้ก็ไม่เกิด และการฝึกลูกให้มีน้ำใจต้องมาจากการที่เราฝึกให้เขารู้ว่า ทรัพย์สมบัตินี้เป็นของเขา เขาจะให้ใครก็ได้ แต่ต้องรู้จักปกป้องสิ่งของที่เป็นตัวเองก่อน และเมื่อของที่เขาหวงแหนแล้วเขายอมให้คนอื่น นั่นคือเด็กมีน้ำใจแล้ว พ่อแม่อย่าข้ามขั้นไปสอนให้เด็กมีน้ำใจก่อนที่จะปกป้องตัวเอง นั่นไม่ใช่การเอื้อเฟื้อ แต่เป็นการไม่รู้ค่าของสิ่งของ นึกจะให้ใครก็ให้
    Untitled-1 copy.jpg

  • ชวนลูกพับผ้า เป็นกิจกรรมง่ายๆ ที่นั่งทำร่วมกันได้ทุกวัน นอกจากจะช่วยพัฒนาการด้านการใช้มือของลูกแล้ว ยังช่วยให้เด็กสังเกต คิดวิเคราะห์ เช่น เมื่อ ลูกหยิบถุงเท้ามา 1 คู่ ลูกก็ต้องคิดแล้วว่า ถุงเท้าต้องมาเป็นคู่ แล้วอีกข้างที่มีลักษณะเหมือนกันอยู่ไหน เขาก็ต้องใช้ทักษะสังเกตเพื่อจับคู่ถุงเท้านั้น เป็นต้น
  • ไปตลาดกับแม่ เป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ได้มากมาย ทั้งได้เรียนรู้การเลือกของที่มีคุณภาพ การบวกลบเลข การเจรจาต่อรองราคา กะคำนวณปริมาณของข้าวของที่ต้องใช้ ฯลฯ เมื่อจ่ายตลาดเสร็จก็ชวนลูกมีส่วนร่วมกับการนำข้าวของที่ซื้อมาจัดเก็บเป็น หมวดหมู่ การนำข้าวของมาทำอาหาร ตั้งแต่กระบวนการเตรียมผัก หั่นผัก เตรียมส่วนผสม เครื่องปรุง การปรุง การชิมไปจนกระทั่งเสร็จสิ้นการทำอาหารจานนั้น หากคุณแม่ให้ลูกได้อยู่ร่วมในทุกกระบวนการ ไม่กันเขาออกไป (ด้วยเหตุผลว่าเป็นเรื่องของผู้ใหญ่) ทุกสิ่งที่ลูกได้เห็น ได้สังเกต เขาจะจดจำ และนำไปสู่คิดต่อไปได้ไม่ยากเลย
  • ชวนกันเข้าครัว ครัว คือแหล่งเรียนรู้ชั้นดีของทั้งเด็กเล็กเด็กโต เป็นสถานที่ที่เด็กจะได้รับข้อมูลผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่างครบถ้วนสำหรับเด็กเล็กอาจจะมีส่วนร่วมกับการทำอาหารแบบเด็กโตไม่ได้ แต่การที่เราเปิดโอกาสให้เขาได้เข้ามาอยู่ในครัว เด็กจะเกิดการจดจำภาพที่เห็น สิ่งที่แม่หยิบจับ เหตุการณ์ต่างๆ ในครัว เมื่อลูกสนใจ อย่าห้าม แต่ควรใช้โอกาสนี้ปล่อยให้เขาสำรวจและจดจำ เช่น เสียงที่เกิดจากช้อนกับชามกระทบกัน เมื่อลูกโตขึ้นอาจให้เป็นผู้ช่วยเอาจาน ชาม ช้อนไปเก็บใส่ถาดให้เป็นหมวดหมู่ โดยคุณแม่ต้องวางต้นแบบไว้ก่อน 1 ชิ้น ให้ลูกหาชิ้นที่เหมือนกันมาวาง หรือให้ลูกช่วยหยิบจับ ชั่ง ตวงส่วนผสมเป็นการเรียนรู้คณิตศาสตร์จากจำนวน ขนาด ปริมาณไปในคราวเดียวกัน เป็นต้น

     นี่เป็นเพียงกิจกรรมง่ายๆ ส่วนหนึ่งที่ฝึกหัดให้ลูกได้ใช้สมาธิ ความจำและการคิดวิเคราะห์ที่ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งสามารถทำได้ โดยมีคุณพ่อคุณแม่เป็นผู้ช่วย และกิจกรรมเหล่านี้จะสำเร็จได้นั้น คุณพ่อคุณแม่จะต้องมีท่าทีที่สงบ สนุก เปิดโอกาส และกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ร่วมกันไปกับลูก จะทำให้กระบวนการเรียนรู้ของลูกเป็นไปด้วยดี และมีประสิทธิภาพมากที่สุด


Untitled-2.jpg


         

Checklist ลูกเรามีกระบวนการเรียนรู้เพียงใด

กระบวนการเรียนรู้ คือ กระบวนการทำงานของสมอง ซึ่งประกอบด้วยการมีสมาธิ ความจำ และการคิดวิเคราะห์ที่ดี

มาทดสอบกันหน่อยว่าลูกน้อยมีกระบวนการเรียนรู้ทั้ง 3 นี้เพียงใด

   

    1021888271_766014d156_z copy.jpg    วัยแรกเกิด- 6 เดือน
  • หันหาเสียงที่ได้ยินได้
  • เมื่อให้ลูกดูแผ่นกระตุ้นสายตาสีดำ-แดง-ขาว หรือโมบายล์ในระยะใกล้ โดยเคลื่อนไปด้านข้างช้าๆ ลูกมองตาม และหยุดเมื่อแม่หยุดเคลื่อนไหว
  • เมื่อร้องเพราะหิว ลูกแสดงอาการหยุดร้องเมื่อเห็นแม่ เพราะจำได้ว่าจะได้กินนม
  • ขณะลูกนอนในเปล/เตียงนอน ลูกชอบเอาขาไปเตะโมบายที่แขวนอยู่ เพื่อให้โมบายแกว่ง เพราะจำได้จากครั้งก่อนๆ
  • เมื่อเห็นหน้าแม่หรือคนคุ้นเคยจะแสดงอาการดีใจ
  • ขณะนั่ง เล่นของเล่นกับลูก เมื่อแม่นำของเล่นนั้นออกไปจากสายตาลูก ลูกพยายามมองหาของเล่นในจุดที่ของเล่นเคยอยู่ และพยายามค้นหาของเล่นที่เล่นอยู่มาเล่นต่อ
  • เมื่อวางของเล่นบนผ้า ลูกดึงผ้าเพื่อให้ของเล่นเข้ามาใกล้ตัวได้

gotoread.png

 

https://mjn.enfababy.com:443/%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2/%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%86%20%E0%B9%83%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%20%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2