|
|
|
|
|
|
|
จากการศึกษาทำให้เราพบว่า สมองจะมีการเจริญเติบโตสูงสุดในช่วง 1,365 วันแรกของชีวิต นั่นคือตั้งแต่ตอนอยู่ในครรภ์ถึง 3 ขวบปีแรก และเด็กทุกคนเกิดมามีจำนวนเซล์สมองแสนล้านเซลล์เท่ากัน แต่เมื่อโตขึ้นเด็กแต่ละคนกลับมีศักยภาพของสมองที่แตกต่างกัน ที่เป็นเช่นนี้เพราะเซลล์สมองขาดการเชื่อมต่อกันในช่วงเวลาที่สมองมีการเจริญเติบโตสูงสุด |
|
|
|
|
|
ในช่วง 1,365 วันอันเป็นช่วงเวลาทองนี้ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องให้ความสำคัญกับการสร้างการเชื่อมต่อของเซลล์สมองลูกให้เกิดขึ้นมากที่สุด |
|
|
|
|
|
DHA PLUS ช่วยเชื่อมต่อเซลล์สมอง เพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ที่เหนือกว่า DHA เป็นกรดไขมันจำเป็นที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของสมองและจอประสาทตา รวมทั้งมีบทาทต่อการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาทในสมองของเด็กที่ส่งผลต่อสติปัญญาและการเรียนรู้ของเด็กให้มีศักยภาพมากขึ้น |
|
|
|
|
|
มีงาน 4 งานวิจัยทางการแพทย์พิสูจน์ว่า DHA ช่วยเชื่อมต่อเซลล์สมองให้พัฒนาศักยภาพสูงสุด 4 ด้าน อันเป็น 4 คุณลักษณะของอัจฉริยภาพ ซึ่งแต่ละด้านคุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมด้วยกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนามากยิ่งขึ้น |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
การแก้ปัญหาเกิดจากการทำงานของสมองที่ประกอบด้วยการคิด การวิเคราะห์ การสังเกต ความเข้าใจเหตุและผล การวางแผน การจดจำ และมีสมาธิที่ดี ศักยภาพในการแก้ปัญหาของเด็กจะมีมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูและโอกาสในการเรียนรู้ |
|
|
|
|
|
เคล็ดลับการเชื่อมต่อเซลล์สมอง เพื่อต่อยอดการเรียนรู้ไร้ขีดจำกัด |
|
|
- ใส่อุปสรรคหรือความท้าทายให้ลูกได้คิดแก้ไขผ่านการเล่น เช่น เมื่อเขาจะคลานไปเอาของเล่น เราก็อาจใช้หมอนกั้นไว้ให้เขาคิดหาทางไปเอาของเล่นนั้น เด็กบางคนอาจจะคลานทับหมอนไปเลย บางคนก็อาจจะแก้ปัญหาด้วยการคลานอ้อมหมอนไป หรือเล่นซ่อนของเล่น เพื่อให้ลูกคิดหาทางไปเอาของเล่นให้ได้ เป็นต้น
- ให้ลูกเล่นเกมแก้ปัญหา เช่น เกมแก้ปมเชือก เกมหาทางออกจากเขาวงกต เป็นต้น
- ฝึกให้ลูกได้ช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวันง่ายๆ ตามวัย เช่น การใส่เสื้อเอง ตักอาหารกินเอง เก็บของเล่นเอง เป็นพื้นฐานที่สำคัญในการฝึกการแก้ปัญหาให้ลูก เพราะลูกจะใช้ความคิดแก้ไขปัญหาจากงานที่ทำ
- ตั้งคำถาม...ท้าให้คิดคำถามแบบปลายเปิด เป็นคำถามชวนให้คิด ไม่มีคำตอบที่ถูกหรือผิด แต่มีคำตอบที่หลากหลาย เสริมทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ เรียนรู้ที่จะเชื่อมโยงข้อมูล และนำข้อมูลทั้งหมดที่รู้มาใช้หาคำตอบ...เป็นการฝึกทักษะการแก้ปัญหาต่าง ๆ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
การมองเห็นคือจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ เมื่อลูกมองเห็นได้ดี การเรียนรู้ก็ทำได้ดี เพราะสามารถใช้มือหยิบจับสิ่งรอบตัวได้มากขึ้น เมื่อเด็กใช้มือ ตา ทำงานประสานกันมากขึ้น เซลล์ประสาทประสานงาน ซึ่งจะคอยทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ส่งกระแสประสาทจากเซลล์หนึ่งไปอีกเซลล์หนึ่ง ก็ทำหน้าที่ควบคู่ไปด้วย ทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ |
|
|
|
|
|
เคล็ดลับการเชื่อมต่อเซลล์สมอง เพื่อต่อยอดการเรียนรู้ไร้ขีดจำกัด |
|
|
- ดูสิ่งกระตุ้นสายตา สำหรับลูกวัยทารกให้ลูกดูสิ่งของที่มีสีสันตัดกันอย่างชัดเจน เช่น แผ่นกระตุ้นสายตา ลูกบอล หรือโมบายล์สีสันสดใส เป็นต้น
- ส่งเสริมการทำงานของมือ-ตา ให้ลูกใช้มือหยิบจับของเล่นที่เขาสนใจด้วยตัวเองบ่อยๆ เพื่อฝึกความแม่นยำและสายตาให้ลูกมากขึ้น หรือกระตุ้นให้ลูกมองตามของเล่นชิ้นโปรด เพื่อฝึกการคว้าจับ ช่วยให้การทำงานของมือและตาพัฒนามากขึ้น
- ฝึกการสังเกต ขณะอ่านหนังสือด้วยกัน ชี้ให้ลูกดูรายละเอียดของภาพว่าใครทำอะไร ที่ไหน มีอะไรปรากฏในภาพบ้าง เป็นต้น เพื่อฝึกการใช้ตาสังเกสิ่งรอบข้างของลูก
- ชวนลูกเล่นเกม Photo Hunt ที่ให้สังเกตความแตกต่างของภาพ เป็นต้น
- ชวนลูกทำกิจกรรมศิลปะ เช่น ปั้นดินน้ำมัน วาดภาพ ระบายสี ที่ล้วนต้องใช้การทำงานร่วมกันของมือและตา
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ความฉลาดของเด็กเกิดจากการที่สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เด็กที่ฉลาดจะมีการเรียนรู้ที่รวดเร็ว รับรู้ และเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ง่าย สามารถเชื่อมโยงเรื่องราวต่างๆ ได้ดี |
|
|
|
|
|
เคล็ดลับการเชื่อมต่อเซลล์สมอง เพื่อต่อยอดการเรียนรู้ไร้ขีดจำกัด |
|
|
- ชวนลูกเล่น เช่น เล่นต่อบล็อก เล่นก่อกองทราย ฯลฯ ที่ช่วยให้เขาได้คิดว่าจะต่อออกมาอย่างไรให้ได้ตามใจคิด
- ชวนลูกประดิษฐ์ของเล่นจากของใกล้ตัว เช่น ทำรถลากจากขวดพลาสติก ทำบ้านจากกล่องกระดาษ เป็นต้น
- เลือกของเล่นแบบ...ปลายเปิด ของเล่นปลายเปิด หมายถึงของเล่นที่ไม่มีรูปแบบการเล่นที่เจาะจง ลูกจะได้ใช้จินตนาการสร้างสรรค์เต็มที่ เช่น ต่อบล็อกไม้เป็นรูปต่าง ๆ ปั้นแป้งโดว์ การเล่นในบ่อทราย แม้แต่สิ่งของใกล้ตัวในบ้านก็นำมาเล่นสนุกได้ เช่น กะละมัง ถัง กล่อง เป็นต้น
- สนุกที่มือ ฉลาดที่สมอง ฝึกให้ลูกใช้มือทั้งสองข้างในการเล่น หรือทำกิจวัตรประจำวัน เช่น หยิบของเล่นเอง ทานข้าวเอง ฝึกติดกระดุม โยนลูกบอล ให้ลูกได้มีโอกาสสัมผัสธรรมชาติ ดิน หิน ทราย เพื่อเรียนรู้ถึงความแตกต่างของผิวสัมผัส เพราะมีผลโดยตรงต่อการเชื่อมต่อของเซลล์สมอง
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
พัฒนาการทางภาษาส่งผลต่อพัฒนาการด้านอื่นๆ โดยรวมของเด็ก เพราะภาษาช่วยเสริมสร้างความสามารถในการคิด และการแก้ปัญหา ทั้งยังช่วยในการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกอีกด้วย การได้ฝึกบ่อยๆ การได้รับการป้อนข้อมูลซ้ำๆ เป็นกระบวนการสอนให้ลูกเรียนรู้ได้ว่า เรื่องราวที่พูดคุยกันอยู่คือเรื่องอะไร ข้อมูลเหล่านี้จะบรรจุอยู่ในเครือข่ายเส้นใยสมอง ทำให้ลูกจดจำสิ่งที่พูดคุยกันได้ เกิดความเข้าใจในความหมายของภาษา |
|
|
|
|
|
เคล็ดลับการเชื่อมต่อเซลล์สมอง เพื่อต่อยอดการเรียนรู้ไร้ขีดจำกัด |
|
|
- พูดคุยกับลูกบ่อยๆ โดยการออกเสียงให้ช้าๆ ชัดเจน และมองหน้าลูกขณะที่พูดกับเขา เพื่อให้ลูกได้เลียนแบบการพูด
- นิทาน สานสัมพันธ์ใกล้ชิดพ่อแม่ลูก การที่พ่อแม่อ่านหนังสือบทกลอนสั้น ๆ หรือเล่านิทานให้ลูกฟัง เป็นประสบการณ์ที่มีคุณค่าสำหรับลูก โดยเฉพาะความอบอุ่น และความสุขที่ลูกได้รับจากน้ำเสียง และสัมผัสของคุณพ่อคุณแม่ขณะฟังเรื่องราว พัฒนาทักษะภาษา เรียนรู้คำใหม่ ๆ การฟัง การมองเห็น การจดจำและลำดับเรื่องราว
- คำถาม “ทำไม...” ต่อยอดการเรียนรู้ คำถามซึ่งแสดงความอยากรู้ อยากเห็น คุณพ่อคุณแม่เพียงอธิบายง่าย ๆ หรือลองถามกลับบ้าง..เพื่อต่อยอดความสนใจ หรือแนะนำลูกให้ลองถามคำถามนี้กับผู้อื่นบ้าง เพื่อให้ได้คำตอบที่หลากหลาย ส่งเสริมพัฒนาการด้านการสื่อสารให้กับลูกด้วย
- เพลงและดนตรีแสนหรรษา สร้างเสียงและจังหวะกับกิจกรรมต่างๆ เช่น เวลาเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูก ก็ร้องเพลงเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูก อาจจะเป็นกลอนสั้นๆ แล้วใส่เสียงสูงต่ำแบบการร้องเพลงเข้าไป หรือเปิดเพลงชนิดต่างๆ ให้ลูกฟังบ้าง เช่น บางวันอาจจะเป็นลูกทุ่ง บางวันเป็นเพลงบรรเลง หรือเพลงป๊อปยอดฮิตทั่วไป นักวิจัยค้นพบว่าการให้ลูกมีโอกาสเรียนรู้เกี่ยวกับจังหวะดนตรีมีความเกี่ยวพันกับการเรียนรู้เรื่องคณิตศาสตร์ของลูกในอนาคต
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
คุณพ่อคุณแม่สามารถพบกับเคล็ดลับเชื่อมต่อแสนล้านเซลล์สมอง ต่อยอดการเรียนรู้ไร้ขีดจำกัดให้ลูกน้อยได้อีกมากมายในงาน Enfa Brain Expo ในวันที่ 28 ก.พ.- 4 มี.ค. (จ.เชียงใหม่) และวันที่ 21-24 มี.ค. (จ.สุราษฏร์ธานี) |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|