รู้จักภาวะตาขี้เกียจในเด็ก

view 5,656

     ภาวะตาขี้เกียจ คือภาวะที่สายตามีประสิทธิภาพในการมองเห็นลดลง สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่วัยเบบี๋ โดยอาจจะเป็นเฉพาะตาข้างเดียวหรือตาทั้งสองข้างก็ได้ แต่จากการตรวจสภาพตาขี้เกียจในเด็ก.jpgดวงตาทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ปกติ ดังนั้น ภาวะนี้น่าจะเกิดจากการปรับตัวของสมองส่วนการมองเห็น ทำให้การมองเห็นลดลง

     ภาวะตาขี้เกียจพบมากในเด็กที่มีพัฒนาการช้า คลอดก่อนกำหนด และครอบครัวที่เคยมีประวัติเป็นภาวะตาขี้เกียจ สาเหตุที่พบภาวะตาขี้เกียจได้บ่อยในเด็ก เนื่องจากว่าการพัฒนาของระบบการมองเห็นของเด็กที่เกิดมาใหม่ยังไม่สมบูรณ์ พัฒนาการการมองเห็นจะสมบูรณ์ได้ เมื่อมีภาพที่คมชัดตกบนจอรับภาพทั้งสองของเด็กเท่าๆ กัน จะทำให้ระบบการมองเห็นและสมองส่วนการมองเห็นของเด็กพัฒนาไปเท่าๆ กันทั้งสองตาเมื่อเด็กโตขึ้น เพราะฉะนั้นถ้ามีความผิดปกติของการมองเห็นใดๆ มาขัดขวางพัฒนาการการมองเห็นของเด็ก จะทำให้เกิดภาวะภาวะตาขี้เกียจขึ้นได้

สาเหตุที่เกิดภาวะตาขี้เกียจ

  1. สายตาสองข้างต่างกัน เช่น ตาข้างหนึ่งมีสายตายาว สั้น หรือเอียงมาก ขณะที่ตาอีกข้างมีสายตาปกติ ภาพที่ตกตรงบริเวณจอรับภาพของตาข้างที่มีสายตายาว สั้น หรือเอียงมากจะไม่ชัดเจน ทำให้สมองส่วนการมองเห็นของตาข้างนี้พัฒนาน้อยกว่าตาข้างที่สายตาปกติ ทำให้เกิดภาวะตาขี้เกียจได้
  2. ภาวะตาเหล่ เด็กที่มีอาการตาเหล่จะเห็นภาพซ้อน ซึ่งกดการทำงานของการมองเห็นในตาข้างที่เหล่ เพื่อกำจัดภาพซ้อน ภาวะที่เกิดการกดการมองเห็นไปนานๆ โดยไม่ได้รับการแก้ไขนี้ ทำให้เป็นตาขี้เกียจได้
  3. มีการขัดขวางการมองเห็น เช่น หนังตาตก เป็นต้อกระจก เป็นต้น ถ้าคุณแม่สังเกตเห็นว่าลูกมีอาการตาเหล่ หนังตาตก ลูกตาสั่น เอียงหน้ามอง ชอบหรี่ตามอง เวลามองต้องเพ่งมากๆ หรือเวลาเดินมักจะชนโต๊ะ เก้าอี้บ่อยๆ ควรรีบพามาพบจักษุแพทย์ค่ะ

     ถ้าคุณแม่สงสัยว่า เด็กเล็กแค่ไหนถึงตรวจตาได้นั้น โดยทั่วไปจักษุแพทย์มักตรวจตาเด็กได้ตั้งแต่แรกเกิดค่ะ ถ้าพบว่ามีความผิดปกติแล้วรีบส่งต่อจักษุแพทย์โดยเร็ว จะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้นค่ะ

https://mjn.enfababy.com:443/%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2/%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%88%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81