Higher เชื่อมต่อเซลล์สมอง เสริมสร้างระดับสติปัญญาที่สูงกว่า

view 1,953

เชื่อมต่อแสนล้าน.png
  เด็กทุกคนเกิดมามีเซลล์สมอง
พร้อมสำหรับการเรียนรู้ประมาณแสนล้านเซลล์เท่าๆ กัน
แต่เมื่อโตขึ้นเด็กแต่ละคนกลับมีศักยภาพของสมอง และระดับสติปัญญา
ที่แตกต่างกัน คุณพ่อคุณแม่อาจมีคำถามว่า ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?

 
     
  ปัจจัยสำคัญที่กำหนดศักยภาพของสมองและระดับสติปัญญาของเด็กแต่ละคนก็คือ การเชื่อมต่อของเซลล์สมอง ซึ่งแต่ละเซลล์จะส่งสัญญาณเชื่อมต่อกันสมองแต่ละส่วน ทำหน้าที่ต่างกัน สมองมีช่วงเวลาที่เซลล์แต่ละส่วนควรได้ รับการกระตุ้นที่เหมาะสม เซลล์สมองที่ได้รับการกระตุ้นที่เหมาะสม จะสร้างเส้นใยเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ยิ่งกระตุ้น มาก การสร้างเครือข่ายเชื่อมต่อจะยิ่งชัดเจนและกว้างขวาง 
 
     
  พบว่าสมองเด็กมีการเจริญเติบโตสูงสุดถึง 80%  ในช่วง 1,365 วันแรกของชีวิตของเด็กซึ่งเริ่มตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ จนถึง 3 ปีแรกเซลล์สมองมีการสร้างเครือข่าย เพื่อการเชื่อมต่ออย่างเต็มที่เซลล์สมองจะเกิดการเชื่อมต่ออย่างเต็มศักยภาพ ได้นั้นต้องอาศัยการส่งเสริมจากพ่อแม่ นั่นคือการให้ลูกได้รับโภชนาการที่ดีโดย เฉพาะสารอาหารสมอง สำคัญ DHAและการเลี้ยงดูที่ส่งเสริมให้ลูกได้มีโอกาสทำ กิจกรรมที่ช่วยเชื่อมต่อของเซลล์สมอง  
     
  เคล็ดลับเชื่อมต่อแสนล้านเซลล์สมอง เสริมสร้างระดับสติปัญญาที่สูงกว่า
 
     
 
 
     
     
     
     
 
 

• กิจกรรมใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 

เด็กในช่วง 3 ปีแรกนั้น เขาเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเองผ่าน ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตามองเห็น หูได้ยิน จมูกได้กลิ่น      ลิ้นรับรส กายรับ สัมผัสจับต้อง ประสบการณ์ที่เด็กได้รับผ่านประสาทสัมผัสทั้งหมด ถูกส่งเข้าไปในสมองกลายเป็นกระแสประสาท เป็นพลังงานไฟฟ้าเล็กๆ และหลั่งสารเคมี ออกมาทำให้เซลล์สมองได้รับการกระตุ้นจึงเจริญเติบโต แตกกิ่งก้านสาขา  เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญที่มองข้ามไม่ได้คือการส่งเสริมให้เด็กได้ใช้สัมผัสทุกส่วนบ่อยๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการกระตุ้นสมอง สมองจะส่งกระแสไฟฟ้าผ่านเส้นใยของเซลล์ประสาทที่มี การแตกแขนง อย่างมากมายทำให้เกิดการรับรู้การตอบสนองและการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะยิ่งเด็กได้ลงมือกระทำกับสิ่งต่างๆ รอบตัวยิ่งมีประสบการณ์มากเท่าใด หรือเร็วเท่าใดสมองจะมีประสิทธิภาพมาก ขึ้นเท่านั้นเพราะประสบการณ์ที่ได้รับจะทําให้เกิดการเชื่อมต่อของเซลล์สมอง เกิดการเชื่อมโยงของเส้นใยประสาท มากขึ้นสิ่งเหล่านี้ทำได้ผ่านกิจกรรมอย่างการเล่นและของเล่นต่างๆ ที่เหมาะสม กับวัยนั่นเอง

 
     
     
     
     
     
     
     
     
 
 

• กิจกรรมใช้มือมือ

นับว่าเป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญในการเรียนรู้ของเด็กเพราะสมองใหญ่ของ คนเราซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมการเคลื่อนไหวของมือและนิ้วมือนั้นคิดเป็นร้อยละ 30 ของการควบคุมส่วนอื่นๆ  และความรู้สึกที่ฝ่ามือนั้นกินเนื้อที่ ส่วนสมองส่วนที่รับความรู้สึกทางกายถึงร้อยละ 30 ความหนาแน่นของปลาย ประสาทรับความรู้สึกที่กระจายอยู่ใต้ผิวหนังของนิ้วมือนั้นใกล้ชิดมากจนคน ตาบอดสามารถใช้มือคลำตัวอักษรเบลล์ ซึ่งประกอบด้วยรูขนาดเล็กเรียงห่าง กันไม่ถึง 1 มิลลิเมตร  มือและสมองจึงมีความสัมพันธ์อย่างมากสมองของเด็กพัฒนาจากการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กพบว่า ทักษะความ คล่องตัวของกล้ามเนื้อมัดเล็กจะพัฒนาภายในช่วงเวลา  10 ปีแรก ดังนั้นหาก เด็กได้ฝึกฝนการใช้มือ การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของมือจะทำให้สมองสร้าง เครือข่ายเส้นใยสมอง และจุดเชื่อมต่อและสร้างไขมันล้อมรอบเส้นในสมอง และ เซลล์สมองที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กได้มากมือจึงเป็น เครื่องมือสำคัญเพื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กเพราะฉะนั้นอย่าได้การมองข้าม การเปิดโอกาสให้ลูกได้ทำกิจกรรมที่เขาได้ใช้มือให้มากซึ่งมีอยู่หลากหลาย ลักษณะ เช่น... 

 
 
     
     
     
     
     
     
     
 
 

• การใช้มือสองข้างพร้อมกัน เช่น ทาแป้งตามตัว เล่นตบแปะ ติดกระดุม ร้อยเชือก

• การเคลื่อนไหวนิ้วมือ เช่น ต่อบล็อกไม้ เสียบหมุดตามรูปต่างๆ 

• การใช้มือและนิ้วมือทั้งหมด เช่น ฉีกกระดาษ ปั้นดินน้ำมัน  เล่นดินเล่นทรายละเลงสีด้วยมือและนิ้ว หรือใช้มือเล่นเงา เช่น ทำเป็นรูปสุนัข รูปเต่า รูปนกบิน งูเลื้อย ฯลฯ 

• การใช้นิ้วชี้เพียงนิ้วเดียว เช่น ดีดลูกแก้ว ใช้นิ้วแตะและทากาว ใช้นิ้วแกะสติกเกอร์ 

• การใช้ข้อมือและกล้ามเนื้อมือ เช่น ขีดเขียนด้วยสีเทียนหรือดินสอแท่งใหญ่ๆ การวาดภาพระบายสี เปิดหน้าหนังสือ ตักอาหารด้วยตัวเอง ค้อนตอก เป็นต้น

 
 
     
     
     
การปล่อยให้เด็กได้ใช้มือเรียนรู้ สัมผัส และทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
เท่ากับได้ช่วยให้เซลล์สมองของเขาเกิดเชื่อมต่อช่วยเสริมสร้างระดับสติปัญญาได้เป็นอย่างดี
https://mjn.enfababy.com:443/%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2/Higher-%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2