พัฒนาการสมองลูกน้อยในช่วงอาการตั้งครรภ์

view 4,376

 

     เพื่อให้คุณแม่สามารถเติมเต็มต่อยอดพัฒนาการทางสมองของลูกน้อยในครรภ์ได้อย่างเหมาะสม การรู้พัฒนาการทางสมองในแต่ละสัปดาห์ของลูก จึงเป็นเรื่องจำเป็น

     ตัวอ่อน-4 สัปดาห์ ช่วงนี้ตัวอ่อน หรือ Embryo เริ่มมีการสร้างกระดูกสันหลัง ระบบไหลเวียนโลหิต และระบบประสาท รวมทั้งการสร้างเนื้อสมอง การแบ่งตัวของเซลล์สมอง

     5-9 สัปดาห์ เซลล์ส่วนหนึ่งจะเจริญเติบโตไปเป็นสมอง ส่วนบนสุดของตัวอ่อนจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เริ่มมีการสร้างส่วนที่เป็นเนื้อสมอง โดยแรกเริ่มจะสร้างเป็นแผ่นบางๆ แล้วค่อยๆ โค้งเข้ามาบรรจบกันเป็นท่อเหมือนหลอดกาแฟ เรียกว่า Neural Tube ต่อมาหลอดนี้จะเริ่มโป่งขยายเป็นช่วงๆ จัดโครงสร้างเป็นสมองส่วนหน้า สมองส่วนกลาง และสมองส่วนหลัง และเริ่มมีการสร้างเนื้อเยื่อของ ตา หู และลิ้น

     10 สัปดาห์ สมองแบ่งเซลล์เร็วมาก ศีรษะจึงมีขนาดเป็นครึ่งหนึ่งของลำตัว เริ่มมีเปลือกตา

    11-14 สัปดาห์ เซลล์ประสาทเริ่มมีเส้นใยประสาทยื่นออกมาโยงใยติดต่อถึงกัน มีการสร้างโครงข่ายประสาทที่ซับซ้อนมากขึ้น  การเหนี่ยวนำกระแสประสาทเกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีภายในเซลล์สมอง ทำให้เกิดประจุไฟฟ้าวิ่งไปมาระหว่างเซลล์สมอง มีการรับส่งข้อมูลเกิดขึ้นในสมอง ซึ่งหมายถึงว่าสมองของลูกเริ่มทำงานแล้ว

    15 สัปดาห์ สมองสั่งการให้ลูกดิ้นและเตะไปรอบๆ ได้ แต่ยังแรงไม่พอที่คุณแม่จะรู้สึก เริ่มมีกระดูก 3 ชิ้นในหูชั้นกลาง แต่ยังไม่เชื่อมโยงกับศูนย์การได้ยินในสมอง

    16-18 สัปดาห์ ลูกจะเริ่มดูด กลืน สะอึก และกะพริบตาได้ แต่ยังไม่สมบูรณ์

8364089561_cccb5d6e45.jpg

     19 สัปดาห์ เส้นประสาทจะเริ่มมีไขมัน myelin หุ้ม ลูกเริ่มจัดระเบียบการตื่นและการนอน

     20 สัปดาห์ สมองกำลังพัฒนาเซลล์ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้แก่ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส โดยการสัมผัสทารกจะเริ่มเรียนรู้ตั้งแต่ สัปดาห์ เสียง ทารกก็จะได้ยินตอน 18 สัปดาห์ กลิ่น รส  เริ่มเรียนรู้ในช่วง 20 สัปดาห์  การมองเห็นก็จะรับรู้ได้ตอน 28 สัปดาห์ เซลล์สมองของทารกจะพัฒนาตัวเองตามลำดับขั้นตอน และเริ่มมีการจัดระดับตัวเองที่พื้นผิวสมองเป็นชั้นๆ ตามโครงสร้างแต่ละส่วนของสมอง

     24-29 สัปดาห์ ทารกจะสามารถรับรู้ได้ว่าตำแหน่งของตัวเองกำลังกลับหัวลงหรือตั้งหัวขึ้น เนื่องจากหูชั้นในซึ่งควบคุมสมดุลหรือการทรงตัวได้รับการพัฒนาและสามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

     30-33 สัปดาห์ โสตการรับรู้ทั้งหมดจะสมบูรณ์เต็มที่ หัวใจเต้นเร็วเมื่อได้ยินเสียงดนตรีที่ชอบ ดิ้นแรงเมื่อหิวหรือได้ยินเสียงดัง มีการเชื่อมโยงของเส้นใยระหว่างเซลล์สมองมากขึ้น การประสานงานระหว่างการดูดกลืนกับจังหวะการหายใจมีมากขึ้น

     34-38 สัปดาห์ สมองมีการเติบโตและพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ในช่วงของอาการตั้งครรภ์ เพื่อจะได้ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของทุกอวัยวะในร่างกายให้ลงตัวและสมบูรณ์ และในขณะที่ทุกอวัยวะมีการเติบโตต่อเนื่องหลังคลอดก็ยังต้องอาศัยความสมบูรณ์ของสมองในการควบคุมด้วย 

     21-22 สัปดาห์ ผิวของสมองชั้นนอกที่ราบเรียบจะเติบโตขึ้น และถูกพัฒนาให้มีรอยจีบ รอยหยัก รอยย่น เพิ่มมากขึ้น  เซลล์ประสาทมีการเติบโต สร้างเส้นใย โยงใย และมีการสร้างปลอดไขมันมากขึ้น ทำให้เนื้อสมองขยายตัวอย่างรวดเร็วจนเกิดเป็นจีบเป็นร่องของผิวสมองมากมาย  

     23 สัปดาห์ การกลืนจะดีขึ้น การรับสัมผัสเรื่องรสดีขึ้น ลูกจะรู้สึกขมได้ตามรสอาหารขมของคุณแม่

4891933263_74fd89b046.jpg

     39-40 สัปดาห์ เซลล์ประสาทเกือบทั้งหมดที่จำเป็นถูกสร้างขึ้นเกือบหมดแล้วก่อนที่ทารกจะคลอด ระบบเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทในสมองทารกจะยาวขึ้น หนาขึ้น และมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เซลล์ที่แข็งแรงที่สุดจะเติบโตเป็นส่วนสำคัญต่างๆ ของสมอง ระบบต่างๆ ในสมองจะทำหน้าที่แตกต่างกันไป โดยเซลล์ประสาทจะทำหน้าที่ส่งผ่านสัญญาณไปยังเซลล์ประสาทอื่น เพื่อการสร้างระบบประสาทขึ้นมา

     ถ้าอยากให้สมองลูกน้อยพัฒนาเต็มศักยภาพ ก็ต้องไม่ลืมใส่ใจเรื่องอาหารการกินให้ดี หลีกเลี่ยงมลภาวะที่เป็นพิษ และทำจิตใจให้เบิกบาน รวมทั้งการกระตุ้นหรือสื่อสารกับลูกอย่างเหมาะสม เช่น การฟังเพลงไปพร้อมๆ ลูกในครรภ์ การพูดคุยกับลูกในครรภ์ การเคลื่อนไหวร่างกาย ฯลฯ เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ลูกมีพัฒนาการทางสมองที่ดีได้อีกทางหนึ่ง


https://mjn.enfababy.com:443/%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2/%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B9%8C