คุณแม่มือใหม่ พบแง่มุมเรื่องสมองลูกน้อย จาก 10 คุณหมอ

view 9,934

 

 

 

 

 

 
0007e8.png

รศ.นพ.สรายุทธ สุภาพรรณชาติ
กุมารแพทย์ หน่วยทารกแรกเกิด

คณะแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลรามาธิบดี

  0007e9.png
 

การพัฒนาสมองของเด็กแรกเกิดทำได้อย่างไร?

ให้เด็กทานนมแม่อย่างเดียวถึง 6 เดือน ถ้าไม่สามารถทำได้ ก็ให้เลือกใช้
นมผสมที่มีสารอาหารใกล้เคียงนมแม่ ซึ่งปัจจุบันมีสารอาหารที่สำคัญต่อการพัฒนาสมองของเด็กแรกเกิด อย่างเช่น DHA, Choline ซึ่งมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์แล้วว่า การเสริมอาหารเหล่านี้ในนมผสม น่าจะทำให้การพัฒนาสมองของเด็กแรกเกิด (ซึ่งเป็นช่วงที่มีการพัฒนาและเติบโตสูงสุด) ที่ทานนมผสมนั้นใกล้เคียงกับเด็กแรกเกิดที่ทานนมแม่เพียงอย่างเดียว

 
t4.jpg  

สมองของเด็ก 3 ขวบปีแรกมีลักษณะอย่างไร มีการทำงานและเจริญเติบโตอย่างไร? 

เด็กเกิดมาด้วยเซลล์สมองแสนล้านเซลล์ เซลล์ที่ได้ใช้และได้รับการกระตุ้นจะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องอย่างมากและรวดเร็ว เซลล์ที่ไม่ได้ใช้จะฝ่อและตายไป สมองเด็กจึงควรได้รับโภชนาการที่ถูกต้องเหมาะสมครบถ้วน ร่วมกับการส่งเสริมการเชื่อมโยงเครือข่ายการทำงานของเซลล์สมอง ผ่านทางการส่งเสริมพัฒนาการทุกๆ ด้านอย่างเหมาะสม โดยเด็กเล็กๆ เรียนรู้ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (ตาดู หูฟัง จมูกรับกลิ่น ลิ้นรับรส ผิวหนังรับสัมผัส) เรียนรู้ผ่านทางการเล่นและทำซ้ำๆ จนเกิดความชำนาญ โดยต้องได้รับความรัก ความเอาใจใส่ ความอบอุ่น และความเข้าใจจากพ่อแม่อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และพ่อแม่ควรจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับลูกตามวัย ไม่เร่งหรือคาดหวังมากจนเกินไป

 
d4.jpg
รศ.พญ.จันท์ฑิตา พฤกษานานนท์
หัวหน้าหน่วยพัฒนาการ และการเจริญเติบโต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
0007ea.jpg
รศ.นพ.ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร
ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา

คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
  t1.jpg
 

สมองของเด็กในท้องเริ่มสร้างเมื่อใด และเมื่อครบ 9 เดือน สมองของเด็กสร้างสมบูรณ์แล้วหรือไม่?

ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิก็จะมีเซลล์ที่รับมอบหมายให้พัฒนาเป็นสมองและระบบประสาท จากนั้นก็จะมีการขยายขนาดและเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็คือการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาท เพื่อให้มีการทำงานสมบูรณ์ สมองและระบบประสาทจะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง
เด็กมีอายุ 3-5 ปี ทั้งในเรื่องขนาดและการทำงาน

 
t7.jpg  

เด็กทุกคนเกิดมามีจำนวนเซลล์สมองเท่ากัน แต่ทำไมเด็กจึงฉลาดไม่เท่ากัน? 

แม้เด็กจะเกิดมามีเซลล์สมองเท่ากัน แต่จุดสำคัญที่ทำให้เด็กฉลาดแตกต่างกันก็คือ ปริมาณการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์สมอง ยิ่งสมองเกิดการเชื่อมต่อมาก เด็กก็จะเรียนรู้สิ่งรอบข้างได้ดี ซึ่งพ่อแม่สามารถส่งเสริมให้เซลล์สมองเด็กเกิดการเชื่อมต่อได้ โดยคุณแม่สามารถทำได้ตั้งแต่ลูกคลอดออกมาก็คือให้ลูกได้กินนมแม่ ซึ่งมีสารอาหารที่ดีต่อสมองอยู่มากมาย เช่น ดีเอชเอ และดีต่อพัฒนาการด้านต่างๆ ของลูก เพราะเขาจะได้รับการสัมผัส โอบกอดด้วยความรักจากคุณแม่ ซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อการเชื่อมต่อของเซลล์สมอง เปิดโอกาสให้ลูกได้เล่นตามวัย ได้ดูภาพ ฟังนิทาน อ่านหนังสือ มีคนคอยพูดคุยด้วย หากเด็กได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสมตามวัย เซลล์สมองของเขาก็จะเกิดการเชื่อมต่ออย่างเต็มประสิทธิภาพค่ะ

สมองเป็นอวัยะที่มีความมหัศจรรย์ หากเส้นใยใดได้รับการกระตุ้นหรือถูกใช้บ่อยเส้นใยนั้นจะแข็งแรงคงทน หากไม่ถูกใช้จะถูกริดทิ้ง ดังนั้น เด็กวัยนี้ควรเปิดโอกาสให้ทำกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อมองหาความถนัดและส่งเสริมเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพภายใต้บรรยากาศที่มีความสุขค่ะ

 
d7.jpg
พญ.อดิศร์สุดา เฟื่องฟู
กุมารแพทย์ชำนาญการพิเศษและผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีอาจารย์ผู้สอนฝึกอบรมและสอบกุมารแพทย์ อนุสาขาพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
 
d8.jpg
นพ.พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์
นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขากุมารเวชกรรม) หัวหน้าหน่วยพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น ภาควิชากุมารเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาลมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  t8.jpg
 

พ่อแม่มีบทบาทอย่างไรต่อการพัฒนาเซลล์สมองของลูกน้อย 

การพัฒนาเซลล์สมองของลูกสามารถทำได้ตั้งแต่ตอนตั้งครรภ์ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ ทำจิตใจให้สบาย เพื่อให้ฮอร์โมนจากแม่เป็นฮอร์โมนที่ดีหลั่งไปถึงลูก สื่อสารพูดคุยกับลูกในท้องบ่อยๆ เด็กที่แม่พูดคุยกับลูกมาก ร้องเพลงให้ลูกฟัง พอลูกคลอดมา ลูกจะจำเสียงแม่ได้เร็วขึ้น เวลาลูกร้องแล้วแม่พูดลูกก็จะรู้สึกสงบลง  

เด็กเกิดมามีเซลล์สมองแสนล้านเซลล์เท่ากัน แต่หลังจากคลอดช่วง 3 ปีแรก จำนวนเซลล์แสนล้านเซลล์เริ่มไม่เท่ากัน เพราะช่วงนี้สมองของลูกน้อยจะเพิ่มน้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ เซลล์สมองมีการแตกตัวมากขึ้นตามการส่งเสริมจากคุณพ่อคุณแม่ คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมการพัฒนาสมองของลูกให้เต็มศักยภาพและต่อเนื่อง โดยเน้นให้ลูกได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์ คือให้ลูกได้รับนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน พออายุเข้า 6 เดือน ถึง 1 ปี นมยังคงเป็นอาหารหลัก แต่ต้องเพิ่มเรื่องของอาหารเสริมเข้ามา พออายุ 1 ปีขึ้นไป อาหารหลักคืออาหารครบ 5 หมู่ นมที่เคยเป็นอาหารหลักจะกลายเป็นอาหารเสริม ในช่วง 3 ปีแรก หรือช่วง 1,365 วันแรกของชีวิตถือเป็นนาทีทอง พ่อแม่ต้องพยายามหาโอกาสให้ลูกในการเรียนรู้ให้มากที่สุด ให้ลูกได้มีประสบการณ์ที่หลากหลายเพื่อคงสมองส่วนที่ทำงานเอาไว้

 
 
  001.png   0007e4.png
 
 
  002.png
  003.png
  004.png
  005.png0007d7.png
 
 

dhaf150.png
bf150.png
 
bx150.png
 
Banner_633x137px_jan_2013.jpg
 
 
https://mjn.enfababy.com:443/%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2/%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%20%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%2010%20%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%86